เก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบที่มีอาการปวดข้อรุนแรงชนิดหนึ่ง สาเหตุเกิดจากกรดยูริคคั่งในร่างกายมากจนเกิดการตกตะกอนของผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรท (Monosodium urate) ที่บริเวณข้อและรอบๆ
อุบัติการณ์
พบว่าผู้ป่วยโรคเก๊าท์มีมากกว่าข้ออักเสบรูมาตอยด์เสียอีก โดยมักพบในผู้อายุเกิน 40 ปี ชาย:หญิง = 10:1 โดยผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 40 ปี มักเป็นผู้ชาย ส่วนในเพศหญิงมักพบในวัยกลางคนหรือหมดประจำเดือนแล้ว มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์
อาการ
แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
- ภาวะเฉียบพลัน จะมีอาการปวดบวม แดง ร้อน มักเป็นทีละข้อในระยะแรกของโรค ข้อที่พบบ่อยมักเป็นข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า
- ระยะที่ไม่มีอาการ (พักชั่วคราว)
- ระยะที่มีก้อนโทฟาย (Tophi) แล้ว เกิดหลังระยะแรกหลายๆ ปี มีข้ออักเสบเรื้อรัง เกิดการทำลายกระดูก และข้อในที่สุด
ภาวะแทรกซ้อนและอันตราย
นอกจากอาการปวดเฉียบพลันแล้ว การปล่อยให้มีกรดยูริคสูงในกระแสเลือด โดยไม่รักษา กรดยูริคจะแปรสภาพเป็นผลึกยูเรทตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะที่กระดูกอ่อน เยื่อบุข้อ เส้นเอ็น พังผืด ใต้ผิวหนังและเนื้อไต ผลึกยูริคที่ตกเข้าไปในข้อจะก่ออักเสบของข้ออย่างเฉียบพลันแบบเป็นๆ หายๆ หากสะสมมากเข้าก็จะทำลายโครงสร้างของข้อ ทั้งกระดูกอ่อน กระดูกแข็งและเส้นเอ็นให้สึกกร่อนไป ส่วนที่อื่นก็เห็นเป็นปุ่มเป็นไตขึ้นเรื่อยๆ อาจแตกเป็นแผล ติดเชื้อฝีหนองเรื้อรังได้ ส่วนที่ไตก็ก่อให้ไตอักเสบเรื้อรังแต่ช้าๆ แต่ส่วนที่ตกค้างในกรวยไต ท่อไต ทำให้เกิดนิ่วในไตได้ แล้วเสียชีวิตจากไตวาย
โรคที่มักพบร่วมด้วยได้แก่ อ้วน เบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง เนื่องจากเป็นต้นเหตุที่มาของโรคเก๊าท์ด้วย ส่วนการรักษาโรคนั้น แม้ว่ายาแก้ปวด ยาขับกรดยูริค ทั้งหลายจะได้ผลแก้อาการปวดได้ดี แต่ก็มีพิษมากมาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว การใช้สารอาหารที่เข้าถึงต้นเหตุของโรค จึงเป็นทางเลือกที่น่าจะคุ้มค่ากับการลงทุน (ค่าใช้จ่าย)
ส่วน “อาหารแสลง” นั้น เมื่อโรคหายแล้วก็ทานได้ปกติ เพียงระวังอย่าให้มากเกินจนเป็นภาระของไต ในการไปคัดกรอง และขับกรดยูริคมากเกินไป
การวินิจฉัย
ที่แน่นอนคือ ตรวจพบผลึกของยูเรท (Monosodium urate) ในน้ำเจาะข้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปเข็ม
หลักการรักษา
ควรหาสาเหตุที่กรดยูริคสูงในเลือด (> 6 mg% ในหญิง หรือเกินกว่า 7 mg% ในชาย) ซึ่งอาจเกิดจาก
- ร่างกายสร้างขึ้นมามากผิดปกติ อันเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานเกินปกติของเอนไซม์ แซนทีน ออกซิเดส (xanthine oxidase) ในการสร้างกรดยูริค ยาแผนปัจจุบันคือ อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์นี้ แต่พิษคือ อาการแพ้ ตั้งแต่ผื่นคัน ไข้ ไต และตับไม่ทำงาน โดยอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ร่างกายได้รับสารนี้เข้าไปมาก (มักจากอาหาร) ถ้าไตยังทำงานปกติ อาจให้ยาโปรเบนเนซิด (Probenecid) ซึ่งออกฤทธิ์ขับกรดยูริค แต่หากไตบกพร่องอาจเกิดภาวะอิ่มตัวของกรดยูริคในปัสสาวะ เกิดนิ่วขนาดใหญ่
- ไตขับกรดยูริคออกไม่ได้ (ไตบกพร่อง)
การตรวจพบกรดยูริคสูงเกิน ทั้งในเลือดและปัสสาวะ บ่งชี้ถึงภาวะสร้างกรดยูริคหรือได้รับมากกว่าปกติ แต่หากพบกรดยูริคในปัสสาวะน้อย จึงบ่งถึงภาวะไตบกพร่อง
การรักษาแผนปัจจุบัน
แล้วแต่ระยะของโรค เช่น การให้คอลชิซีน (Colchicine) ซึ่งเป็นยาลดอาการข้ออักเสบ ออกฤทธิ์ยับยั้งนิวโทรฟิลที่จะเดินทางไปยังจุดอักเสบ อาจพบผลข้างเคียงคือท้องเสีย การใช้กลุ่มยาต้านอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาอินโดเมทาซิน ได้ผลดีในข้ออักเสบเฉียบพลัน แต่มีพิษต่อไต, ตับ, ระบบทางเดินอาหาร, เกล็ดเลือด, ความดันโลหิต และอาการบวมคั่งน้ำและเกลือโซเดียม จึงต้องระวังในผู้สูงอายุ ผู้มีโรคกระเพาะ ตับ ไต หัวใจ หลอดเลือด และสมองตีบตัน
อาจมีการฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ ซึ่งต้องระวังเรื่องการติดเชื้อ, สเตียรอยด์ทำลายข้อ ตลอดจนการฉีด ACTH ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารคอร์ติโคสเตียรอยด์ออกมาระงับอาการอักเสบเอง ซึ่งข้อเสียคือ ราคาแพง
ความรู้สู้โรคเก๊าท์ ด้วยหลักการแพทย์ผสมผสาน
- จากสถิติที่ผู้ป่วยในครอบครัว มีแนวโน้มเกิดโรคเดียวกันนี้ได้ง่าย ลูกหลานของผู้ป่วยโรคนี้จึงจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง สมควรเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริคสูง ได้แก่ โปรตีนทั้งหลาย เนื้อสัตว์ เครื่องใน แอลกอฮอล์ เลี่ยงภาวะกรดและเกลือโซเดียม ซึ่งเป็นปัจจัยในการตกผลึกโมโนโซเดียมยูเรท แต่มิใช่เป็นของแสลงจนแตะไม่ได้ เพียงอย่ามากไป
- จากข้อมูลที่ว่าภาวะกรดในร่างกาย มีส่วนทำให้ไตขับกรดยูริคน้อยลง จึงต้องระวังอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะกรด ได้แก่ แอลกอฮอล์ โปรตีน ไขมัน น้ำตาล เพิ่มอาหารที่ช่วยสร้างสภาวะด่าง ได้แก่ ผักผลไม้ (หวานน้อย ปลอดสารพิษ) ออกกำลังกาย อาหารเสริมที่มีบทบาทสร้างภาวะด่าง เป็นคุณต่อร่างกายมากมาย คือ น้ำแมกนีเซียม อีกทั้งผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรดื่มน้ำมากๆ อยู่แล้ว เพื่อช่วยขับกรดยูริค
- จากสถิติที่พบเก๊าท์ในชายมากกว่าหญิงเกือบ 10 เท่า เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิงมีผลต่อการขับถ่ายกรดยูริคออกทางปัสสาวะได้ดี ดังนั้นจึงพบโรคนี้ได้ในหญิงเมื่อเข้าสู่วัยทอง การแก้ปัญหานี้ในหญิง จึงน่าจะเสริมสร้าง ซ่อมแซมเซลล์รังไข่ และต่อมใต้สมอง อันเป็นอวัยวะผู้สร้างฮอร์โมน มิใช่การฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ เอสโตรเจนจากพืชจึงมีประโยชน์สูงฮอร์โมนพืชจากนมถั่วเหลืองที่บดพร้อมผิวหุ้มเมล็ด ยังเหมาะในผู้ป่วยชายที่อยู่ในระยะพักของโรคเก๊าท์ ด้วยอาศัยฮอร์โมนเอสโตรเจนจากพืช ช่วยเสริมการทำงานของไตในการขับกรดยูริค แต่อาจไม่เหมาะในระยะปวดอักเสบรุนแรง เพราะโปรตีนก็เป็นปัจจัยในการเพิ่ม กรดยูริคได้
- จากข้อมูลที่พบว่า สารสเตียรอยด์ ตลอดจน ACTH อันเป็นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชนิดฉีด ใช้รักษาโรคเก๊าท์ได้ดี โดยออกฤทธิ์ต้านการอักเสบแต่มีราคาแพง และมีพิษร้าย เช่น กระดูกผุ ดังนั้นหากทำให้ร่างกายสามารถหลั่งสารสเตียรอยด์ และฮอร์โมน ACTH ได้ดี ก็น่าจะเป็นการรักษาที่ตรงจุด และปลอดภัย ด้วยการซ่อมบำรุงหมวกไตด้วยเซลล์ต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมอง (ซึ่งก็แพงพอสมควร)
- จากกลไกการเกิดกรดยูริคล้นเกิน ว่าเป็นการทำงานเกินปกติของเอนไซม์ แซนทีนออกซิเดส ในกระบวนการสร้างกรดยูริค ปรากฏการณ์นี้อาจเกิดได้จากตับเสียสมดุล การใช้เซลล์ตับ และตับอ่อนไปซ่อมแซมตับและตับอ่อน จึงเป็นข้อบ่งใช้ที่หวังผลตอบรับที่ดีได้ และปลอดภัย
- การที่มีกรดยูริคล้นเกินในผู้ป่วยเก๊าท์ ในขณะที่คนปกติแม้ได้โปรตีนสูง ไตก็สามารถขับถ่ายออกได้ บ่งชี้ว่าน่าจะมีการบกพร่องของไต ยิ่งหากตรวจสอบผลปัสสาวะ 24 ชม. พบกรดยูริคน้อยกว่าค่าปกติ ก็เป็นตัวช่วยยืนยันได้ดี ในกรณีนี้จึงน่าจะเป็นภาระของชีวโมเลกุลเซลล์ไตไปซ่อมไต รวมถึงสารสกัดจากเห็ดหลินจือที่ช่วยคลายใยแผลเป็นจากไตอักเสบ
- อาการปวดข้อในเก๊าท์ ส่วนหนึ่งมาจากภาวะอักเสบกำเริบ สารต้านอักเสบมาตรฐานตัวหนึ่ง คือ โอเมก้า3 น้ำมันปลานั่นเอง
- ใช้อาหารที่ช่วยขับกรดยูริค เช่น วิตามินบี และโคลีน กรดโฟลิก สังกะสี
ชีวโมเลกุลจึงเป็นเสมือนหัวหอก หรือสารหลักแห่งการแก้ปัญหาเซลล์ หรืออวัยวะที่เสื่อมสภาพในเบื้องต้น หายแล้วหยุดใช้ได้ ป้องกันและบำรุงด้วยสารอาหารเป็นการถาวร เพื่อลด/เลิกการใช้ยาแก้ปวด แก้อาการได้ในที่สุด
* สรุป แนวทางพึ่งตนเองตามหลักสุขภาพพื้นฐาน
- เลี่ยงอาหารที่ให้กรดยูริคสูง สร้างสภาวะกรด หรือสร้างเกลือโมโนโซเดียมยูเรทมาก เช่น เนื้อสัตว์ เกลือแกง ผงชูรส น้ำตาล ไขมัน แอลกอฮอล์
- ใช้เซลล์ต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไต, ตับ, ตับอ่อน, อย่างละ 1x2 ร่วมกับอวัยวะรวม 1x1 เป็นเวลา 10 วัน หรือมากกว่า (แล้วแต่กำลังทรัพย์) ในหญิงอายุเกิน 40 ควรเพิ่ม รังไข่ 1x2x10 วัน
- โคลีน + วิตามินบี, หลินจือ, น้ำมันปลา อย่างละ 1x1 ถึง 1x3 แร่ธาตุสังกะสี 1x1
- จิบดื่มน้ำแมกนีเซียม
- ดื่มนมถั่วเหลือง เช้า + ก่อนนอน
หมายเหตุ : ห้ามให้แอสไพรินในผู้ป่วยโรคนี้