ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

แปะก๊วย

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

Ginkgo Biloba สารสกัดใบแปะก๊วยได้รับอนุญาตเป็นสมุนไพรรักษาโรคสมองเสื่อมในเยอรมัน อเมริกาถือเป็นอาหารเสริม

แปะก๊วย เป็นพืชชนิดเดียวที่รอดชีวิตในเมืองฮิโรชิมา ในรัศมี 1 กม. ที่ถูกระเบิดปรมาณู เมื่อปี 1945 ซึ่งทุกชีวิตตายหมด

มีการทำวิจัยแปะก๊วยเกี่ยวกับสรรพคุณต้านโรคสมองเสื่อม อย่างกว้างขวางในฝรั่งเศส อเมริกา และเยอรมัน จนจัดเป็นสมุนไพรขายดีติดอันดับโลก (Top ten best selling herbal medicine)

พฤกษเคมีของแปะก๊วยมีทั้งชนิดดีและเลว

สารส่วนที่ดีได้แก่ Flavonoid เช่น flavones คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ, Terpenoid คุณสมบัติยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือด ทำให้ไม่จับตัวเหนียวเป็นก้อน ดีต่อการไหลเวียนโลหิต ทำให้นำออกซิเจนไปสู่สมองและประสาทได้ดี นับเป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจของแปะก๊วย

สารพิษในแปะก๊วยก็มีอยู่ คือ Ginkgolic acid เป็นอันตรายต่อ DNA รหัสพันธุกรรมในเซลล์ อีกทั้งเป็นพิษต่อตับและเซลล์ประสาท ห้ามมีเกิน 5 ppm จึงต้องมีระบุไว้แสดงความปลอดภัย

ประโยชน์ของแป๊ะก๊วย

คือ แก้โรคสมองเสื่อม จากคุณสมบัติที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนสู่สมองได้ดีขึ้น เพิ่มออกซิเจน สารอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ พร้อมทั้งช่วยขับสารพิษออกจากเซลล์สมอง ก่อผลดีต่อการคิด การเรียนรู้ และจดจำ โดยมีนัยสำคัญในการใช้

โรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) ตาเสื่อมจากเบาหวาน ปวดน่องจากการที่เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เสียงแว่วในหู เรย์โนด์ (หลอดเลือดปลายมือเท้าหดตัวอย่างแรง) ลดอาการหอบหืด วิงเวียน (Vertigo) อีกข้อบ่งใช้สำคัญคือ ED (หย่อนสมรรถภาพ) จากคุณสมบัติแปะก๊วยที่ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว จากปัญหาของหลอดเลือดผิดปกติ

ขนาดรับประทาน

  • ปกติวันละ 40 – 200 มก.
  • ความจำเสื่อม โรคหัวใจหลอดเลือด วันละ 120 มก. แบ่ง 3 มื้อ
  • เสียงแว่วในหู ใช้วันละ 160 มก. แบ่ง 3 มื้อ
  • อัลไซเมอร์ ใช้วันละ 240 มก. แบ่ง 3 มื้อ
  • ระยะเวลาเห็นผล 4 – 6 สัปดาห์

ข้อพึงระวัง

  1. ต้องไม่มีสารพิษ Ginkgolic acid เกิน 5 ppm
  2. ห้ามใช้ร่วมกับแอสไพริน น้ำมันปลา หรือยาลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดชนิดอื่นๆ หรือเป็นโรคที่เลือดออกง่ายอยู่แล้ว และก่อน หลังการผ่าตัด ถอนฟัน
  3. อาจมีอาการปวดศีรษะ มวนท้อง
  4. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และหญิงมีครรภ์ ให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาแน่ชัด
  5. ใบดิบสีเขียว และเม็ดแปะก๊วยดิบมีสารพิษ (Ginkgo toxin) ทำให้ชัก อาจถึงตายได้ ห้ามกิน
  6. ห้ามใช้ร่วมกับยาต้านซึมเศร้า เช่น MAOI (Monoamine Oxidase Inhibitors)
  7. ชนิดฉีด ห้ามใช้แล้ว เนื่องจากอาจทำให้เกิดแพ้รุนแรงได้