ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

อาหารต้านโรค

กรดแอลฟาไลโปอิค

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

กรดแอลฟาไลโปอิค (ALA) คืออะไร กรดแอลฟาไลโปอิค (Alpha lipoic acid–ALA) หรือชื่อพ้องว่ากรดไทออกติก (Thioctic acid), เมต้าวิตามิน (meta vitamin) เป็นกรดไขมัน ต้านอนุมูลอิสระ ที่ร่างกายสร้างได้เองตามธรรมชาติ แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือภาวะอ่อนแอ ทำให้การสร้างลดลง

ALA พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีปริมาณเล็กน้อย สามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้สูง และช่วยซ่อมสร้างวิตามินซี และอี ตลอดจนโปรตีนที่ถูกออกซิไดส์ได้ด้วย

มีคุณสมบัติพิเศษคือ ละลายได้ทั้งในน้ำ และน้ำมัน จึงสามารถดูดซึม แทรกซึมเข้าสู่เซลล์ทั่วร่างกาย ตลอดจนผ่านแนวกั้นในสมอง (blood brain barrier) ได้ดี ทำให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

พบ ALA ได้ในมันฝรั่ง เนื้อแดง เครื่องใน ยีสต์ ผักโขม ผักปวยเล้ง และตับ แต่อาจไม่เพียงพอเพื่อผลการรักษา บางคนจึงต้องใช้เสริมจากภายนอกในการบำบัดโรคต่างๆ

 

ทำอะไร / ประโยชน์

  1. ALA มีขนาดโมเลกุลและภาวะแขนคู่ ที่เคลื่อนตัวได้คล่อง และพร้อมให้อิเล็กตรอนได้ง่าย ทำให้ละลายได้ทั้งในน้ำและน้ำมัน มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง อีกทั้งช่วยส่งเสริม หรือซ่อมสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น เช่น วิตามินซี วิตามินอี กลูต้าไทโอน โคคิวเทน ให้กลับมาใช้งานซ้ำได้ หรือเป็นสารทดแทนกรณีสารต้านอนุมูลอิสระใดขาดแคลนไป มีบทบาทได้ทั้งภายในเซลล์ และที่เยื่อหุ้มเซลล์

  2. ALA ทำงานส่งเสริมอินซูลิน ในการช่วยกวาดเก็บ นำมาใช้ และเก็บกักน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาที่แสดงว่า oxidative stress มีผลในการเกิดอาการดื้อต่ออินซูลิน ที่เซลล์กล้ามเนื้อ แต่เมื่อเซลล์ได้รับ ALA จะได้รับการปกป้องจากอนุมูลอิสระได้ ALA ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานตอบสนองต่ออินซูลิน บทบาทที่เพิ่มประสิทธิภาพของอินซูลิน ต่อน้ำตาลในเลือด ทำให้ใช้บำบัดผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน

  3. Diabetic neuropathy ประสาทถูกทำลายเนื่องจากเบาหวาน จากน้ำตาลในเลือดสูง หรือ oxidation ต่อเส้นประสาทนั้น วิตามินบี12 ช่วยไม่ได้มาก แต่ ALA ใช้ได้ผลดีจากการที่ ALA มีส่วนร่วมในเมตาบอลิสมของพลังงาน ช่วยการไหลเวียนเลือดตามหลอดเล็กๆ (เช่น เส้นที่ไปเลี้ยงเส้นประสาท) ดีขึ้น แล้วยังช่วยให้การใช้น้ำตาลในเลือดดีขึ้นด้วย

    ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ นอกจาก ALA แล้ว ก็ยังมีวิตามินอี และ Capsaicin ที่ได้จากพริก

    ALA มักเป็นแคปซูล ขนาด 100 – 200 มก. แต่ขนาดที่ควรใช้คือ 600 – 800 มก.

    มีการศึกษาระบุว่าควรทานวันละ 1800 มก.x3 สำหรับกรณีที่รุนแรงเช่นนี้

    ประโยชน์หลักของ ALA คือ ใช้รักษาอาการปวดและชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า จากระบบประสาทถูกทำลาย ซึ่งอาจเกิดจากอนุมูลอิสระทำลายเซลล์ประสาท เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ เกิดการเติมออกซิเจน (oxygenation) รวมทั้งอาการประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ต้านการอักเสบ

  4. จับตัวกับโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู ปรอท แล้วขับออกจากร่างกาย (Chelation) อีกทั้งคุณสมบัติที่ซึมผ่านแนวกั้นสมองได้ ทำให้เชื่อว่าน่าจะมีบทบาทเข้าไปช่วยนำโลหะหนักออกมาขับทิ้ง ผ่านตับ หรือไตได้

  5. คุณสมบัติที่เพิ่มระดับกลูต้าไทโอนในตับ ช่วยให้ตับขับล้างสารพิษตกค้าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง

  6. ALA ทำงานร่วมกับเอนไซม์ในร่างกาย เพื่อเร่งกระบวนการสร้างพลังงาน และจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระฤทธิ์แรง ช่วยให้อนุภาคที่ไม่เสถียร และเป็นผลร้ายต่อร่างกาย มีสภาพเป็นกลาง ช่วยควบคุมระดับของธาตุเหล็ก และทองแดงซึ่งเป็นแร่ธาตุจำเป็นของร่างกายให้อยู่ในระดับที่พอดี

  7. ALA ช่วยปกป้องตับมิให้ถูกอนุมูลอิสระทำลาย ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย มีการใช้สารนี้รักษาตับอักเสบ ตับแข็ง และโรคตับอื่นๆรวมทั้งสารพิษตะกั่ว หรือโลหะหนักอื่นๆ และสารเคมีจาก อุตสาหกรรม เช่น carbon tetrachloride

  8. ในสัตว์ทดลองยังพบประโยชน์ของ ALA ช่วยยับยั้งต้อกระจก เพิ่มความจำ และปกป้องเซลล์สมองจากการขาดเลือด

    มีบางข้อมูลชี้ว่า ALA ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสจากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน และการทำงานของตับ ช่วยชะลอการเกิดหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งมักพบในผู้ป่วยเบาหวาน

  9. การศึกษาผลของ ALA ในอัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน บ่งชี้ว่า ALA น่าจะมีประโยชน์

  10. ตลอดจนใช้คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องอ่อนเพลียเรื้อรัง สะเก็ดเงิน ซึ่งรุนแรงจากอนุมูลอิสระ

  11. พบว่าALAช่วยป้องกันการกระตุ้นอองโคยีน (oncogene) ซึ่งเป็นยีนควบคุมการเกิดมะเร็ง จากอนุมูลอิสระ และสารก่อมะเร็ง

  12. อาการปวดแสบร้อนในปาก เหมือนกินพริก เข้าใจว่าอารมณ์แปรปรวนในวัยทอง การลดลงของฮอร์โมน หรือมีโรคของระบบประสาท หนึ่งในสามเกิดหลังทำฟัน การติดเชื้อยีสต์ (candida albicans) การขาดวิตามินบีต่างๆ และสังกะสี

    พบว่าการให้ ALA ชนิดออกฤทธิ์ช้าๆ ช่วยลดอาการได้ เข้าใจว่า ALA ไปทำลายอนุมูลอิสระที่กดดันประสาท และเพิ่มความเร็วของสัญญาณประสาท ALA เคยใช้กับการเจ็บปวดร้าวของประสาทไซอาติก (sciatic pain) ได้ผล จึงนำมาใช้กับอาการแสบร้อนในปาก มีการทดลองให้ ALA เทียบกับยาหลอก พบว่า
         97% มีอาการดีขึ้น
         74% ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
         13% หายขาด
         10% ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย
         ในขณะที่กลุ่มยาหลอกมีอาการดีขึ้นเพียงเล็กน้อย 40%

    การติดตามผล 1 ปีให้หลัง พบว่ากลุ่มที่ได้ ALA 3 ใน 4 มีอาการดีขึ้นในระดับที่ดี ส่วนกลุ่มยาหลอกกลับมีอาการแย่ลง

  13. อาวุธใหม่ในการลดน้ำหนัก…มีงานวิจัยว่า ALA มีผล อย่างไรกับเอนไซม์ APK (activated protein kinase enzyme) ซึ่งพบในสมองส่วนไฮโปทาลามัส น่าจะมีหน้าที่สำคัญต่อความอยากอาหาร APK เพิ่มขึ้นเมื่อ เซลล์ต้องการพลังงานมากขึ้น ซึ่งอาจไปเพิ่มความอยากอาหาร

    คนอ้วนส่วนมากไม่ตอบสนองต่อ Leptin ซึ่งนำมาใช้เป็นฮอร์โมนต่อต้านความอ้วน แต่ ALA พอที่จะให้ความหวังได้ โดยสัตว์ทดลองมีอัตราเผาผลาญสูงขึ้นด้วย กลูโคสและไขมันถูกเผาผลาญมากขึ้น

    ในกรณีเบาหวาน ที่ดื้ออินซูลิน ย่อมดีขึ้น โดยลดการสะสมของไขมันที่กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมัน ที่ไมโตคอนเดรีย เป็นตำแหน่งที่ ALA ทำงานในฐานะปัจจัยร่วม (Co factor) ในการย่อยกลูโคสและไขมัน

    ALA เป็นตัวช่วยวิตามินทุกชนิด เช่น ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน กรดแพนโธทีนิค และไนอาซิน ในการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันจากอาหารให้กลายเป็นพลังงาน ALA เป็นปัจจัยสำคัญใน internal cellular burn หรือการเผาผลาญภายในไมโตคอนเดรีย จึงช่วยเพิ่มอัตราเผาผลาญของเซลล์ เพิ่มพลังงาน และความสามารถในการซ่อมแซมของเซลล์

  14. โรคประสาทที่ไม่ได้มาจากเบาหวาน ALA ก็น่าจะมีบทบาทจากการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวยง อีกทั้งไปเพิ่มระดับกลูต้าไทโอนภายในเซลล์ ทำให้ช่วยซ่อมเซลล์ประสาทที่ถูกทำลายเสียหายให้ฟื้นกลับมาใหม่

    การไม่เป็นพิษของ ALA จึงน่าจะผสมผสานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมโภชนาการ ร่วมกับวิตามินบีรวม แมกนีเซียม และกรดไขมันจำเป็น

    ยังแนะนำให้ใช้ ALA ในโรค multiple sclerosis อาการพิษจากโลหะหนัก, ต้อกระจก และต้อหิน โรคตับจากพิษสุรา

 

ขนาด + วิธีใช้

การใช้ปริมาณเล็กน้อย วันละ 20–150 มก. มักไม่มีผลข้างเคียงใดๆ

ขนาดที่ใช้แก้ปัญหาคือ 100–200 มก.x3 ครั้ง/วัน ควรค่อยๆ เพิ่มจากน้อยไปหามาก การใช้ปริมาณมากในทันที อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน หรือเกิดผื่นแดงตามผิวหนังได้บ้าง หากมีอาการก็ให้ลดขนาดหรือหยุดใช้ได้ แต่ก็น่าจะแสดงว่าร่างกายสนองต่อผลการรักษา

แพทย์ผู้รักษาที่เชี่ยวชาญอาจใช้ขนาดสูงได้ถึงวันละ 1800 มก.

ข้อพึงระวัง

ยังไม่เคยมีการทดสอบในหญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร การใช้ปริมาณสูงจึงควรระวัง อาจเสริมฤทธิ์ของกรด แกมมา–ไลโนเลนิค (GLA) และ/หรือ acetyl–L–carnitine ให้ผลดีมากยิ่งขึ้น ลดน้ำตาลในเลือดมากขึ้น ทำให้อาจต้องลดขนาดยาที่ใช้

อาจออกฤทธิ์ร่วมกับ T4 ไปชะลอการเปลี่ยนเป็น T3 จึงควรทานห่างกันหลายชั่วโมง