“มือสั่น เดินส่าย” เป็นลักษณะที่สังเกตง่ายๆ สำหรับคนทั่วไป ว่าน่าจะนึกถึงภาวะสมองเสื่อมที่เรียก Parkinson’s Disease อันตั้งตามชื่อของแพทย์ชาวอังกฤษผู้ค้นคว้า คนไทยอาจเรียกง่ายๆ ว่า “โรคพากันสั่น” แม้ว่าอาการ “สั่น – ส่าย” ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคพาร์กินสันทุกรายไป แต่พาร์กินสันก็เป็น 70% ของผู้ที่มีกลุ่มอาการเหล่านี้
พาร์กินสัน เป็นโรคแห่งความเสื่อมของระบบประสาทที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์ โดยพบได้ 1 ใน 100 ของผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป การแยกจากโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นความเสื่อมของสมองด้านความจำ (หลงลืม) คือพาร์กินสันเป็นการเสื่อมที่กระทบประสาทเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเป็นหลักโดยอาการทั่วไปคือ มีอาการสั่น แข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า การทรงตัวไม่สมดุล
สาเหตุ
เกิดจากความเสื่อมทางระบบประสาท และเรื้อรัง สมุฏฐานของโรคนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดจากเหตุใด แต่ก็มีหลักฐานหลายประการที่พบแล้ว เช่น ผู้ป่วยมีความผิดปกติที่พบว่าเซลล์สมองบริเวณเบซัลแกงเกลีย (basal ganglia) อันมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว และmotor cortex ค่อยๆ ตายลงช้าๆ ทำให้การผลิตสารโดปามีน (Dopamine) ในสมองลดลง โดปามีนมีหน้าที่เชื่อมโยงสัญญาณประสาทระหว่างเส้นประสาทแต่ละเส้น แต่ละช่วง เมื่อขาดหายจึงทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการแข็งเกร็งหรือสั่น
มีน้อยรายที่พบสาเหตุของโรคแน่ชัด เช่น ติดเชื้อไวรัส (เช่นพบโรคนี้มากหลังการระบาดของไข้หวัดใหญ่สมัยก่อน) การได้รับยารักษาทางจิตเวช ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก หรือสารพิษ กรรมพันธุ์มีส่วนเพียง 5%
อาการ
กลุ่มอาการที่เรียก “พาร์กินสันนิสซึ่ม” อันรวมโรคอื่นๆ ด้วย ได้แก่ อาการสั่น (tremor) เคลื่อนไหวช้า แข็งเกร็ง การทรงตัวไม่สมดุล ทำให้เดินส่าย สูญเสียการดมกลิ่น และรับรู้รส (มักนำมาก่อนอาการอื่นหลายปีในโรคพาร์กินสัน) อ่อนเพลีย ปวดด้านใดด้านหนึ่ง ในผู้ป่วยอายุน้อย หดหู่ ซึมเศร้า หลงลืม กังวล หย่อนสมรรถภาพทางเพศ พูดเบาหรือรัว ตลอดจนท้องผูก (จากการเสื่อมของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร) กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กลืนลำบาก น้ำลายไหล หน้าตาย (จากกล้ามเนื้อไม่หดตัว) กระพริบตาน้อย
วิธีวินิจฉัย
แพทย์สามารถทดสอบได้ง่ายๆ เช่น ให้ผู้ป่วยนับถอยหลัง สังเกตอาการสั่นขณะไม่ตั้งใจ มักเริ่มจากซีกใดด้านหนึ่งก่อน มักมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อซีกนั้นร่วมด้วย เริ่มจากปลายนิ้วก่อน
วิธีรักษาแผนปัจจุบัน
เช่น กระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep brain stimulation) การผ่าตัด การใช้ยา เช่น Levodopa ตลอดจนการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell Transplantation) หรือปลูกถ่ายเซลล์ประสาทที่ผลิตโดปามีน การวิจัยหนึ่งในปัจจุบันคือ การทดแทนเซลล์ในส่วนของ เบซัล แกงเกลีย ที่เสื่อมลงโดยอาศัยการปลูกถ่ายเซลล์ พบว่าบริเวณของสมองใกล้ hypothalamus ที่เรียก substantia nigra มีเซลล์ทำหน้าที่ผลิตสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ที่เรียก Dopamine เมื่อเสื่อมไป การเพิ่มสารโดปามีน จึงเป็นหลักการรักษาหนึ่ง
สารสื่อประสาทที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ที่พบใน striatum ของสมองคือ acetylcholine (ACh) มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวและความจำ ในภาวะปกติ basal ganglia ต้องการปริมาณโดปามีน และ ACh ในอัตราส่วนที่สมดุล
ความรู้สู้พาร์กินสัน ตามหลักสุขภาพพื้นฐาน
- จะเห็นว่าในทางการแพทย์พยายามปลูกถ่ายเซลล์สมอง เพื่อทดแทนเซลล์สมองส่วนที่เสื่อมไป ไม่ว่าด้วยเซลล์ต้นกำเนิด หรือปลูกถ่ายเซลล์ที่ผลิตสารโดปามีน จึงเป็นบทบาทสำคัญของชีวโมเลกุล เซลล์ซ่อมเซลล์ที่ใช้เซลล์สมองไปซ่อมสมอง ที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น และปลอดภัย ราคาไม่สูงนักในกรณีใช้เซลล์เป้าหมายอมใต้ลิ้น แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ผู้ป่วยต้องมีเซลล์สมองส่วนที่ดีอยู่ให้ซ่อมได้ และเป็นการรักษาเพียงประคับประคองชั่วระยะเวลาหนึ่ง ให้อาการทุเลา แต่หากมิได้แก้ไขต้นเหตุที่ทำลายเซลล์สมองโดยสิ้นเชิง โรคก็มักกำเริบขึ้นได้อีกอย่างไรก็ตาม นับเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่สมควรเลือกยิ่งกว่าวิธีผ่าตัด หรือกระตุ้นไฟฟ้า หรือจะใช้ร่วมกับวิธีอื่นก็ไม่ขัดข้อง และน่าจะเป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ
- โคคิวเทน เป็นสารจำเป็นในกระบวนการทำงานของไมโตคอนเดรียแห่งเซลล์สมอง จึงเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งมีผลต่อต้านอาการเสื่อมของสมอง โดยในการประชุมสมาคมแพทย์ประสาทสหรัฐ เมื่อเดือนตุลาคม 2002 มีมติให้ใช้โคคิวเทน เป็นอาหารเสริมสำหรับโรคพาร์กินสันหากเป็นการรักษาให้ใช้สูงถึงวันละ 300 – 1200 มก. แบ่ง 4 มื้อ (โดยแพทย์ตรวจว่าไม่ซ้ำซ้อนกับยาที่ละลายเกล็ดเลือด หรือยาต้านอักเสบ และเป็นโคคิวเทนที่ไม่มีโพรพิลีน กลัยคอลผสมอยู่ด้วย)ในปี 2006 US FDA ยินยอมให้ใช้โคคิวเทนเป็นยาป้องกันโรคพาร์กินสัน
- โอพีซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ และผ่านเยื่อกั้นสมอง (blood brain barrier) ได้ ช่วยปกป้องเซลล์สมองจาก Oxidative stress ต่อเซลล์สมอง ขนาดที่แนะนำสูงถึง 400 มก./วัน แบ่งเป็น 120 มก. x 3 เป็นต้น
- กรดแอลฟาไลโปอิค ก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ละลายในไขมัน ที่สามารถซึมผ่านแนวกั้นสมอง (BBB) ได้ หากไปจับโลหะหนัก สารพิษในสมอง นำพาออกสู่ภายนอกได้ ย่อมช่วยให้ภาวะผู้ป่วยดีขึ้น
- แปะก๊วย เพิ่มการไหลเวียนเลือดในสมอง ช่วยให้เซลล์ได้รับสารอาหารมากขึ้น
- การสร้างสารสื่อประสาท และระบบประสาทจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ DHA จากน้ำมันปลา โคลีน และวิตามินบี6 ตลอดจนแมกนีเซียมโดยหวังผลบำรุงเซลล์สมอง และเป็นปัจจัย ในการสร้างโดปามีน และ ACh ซึ่งผู้ป่วยพาร์กินสันขาดอยู่
- น้ำมันมะพร้าว VCO(อ่านรายละเอียดในเรื่องอัลไซเมอร์)
- การนำสารพิษโลหะออกจากสมองด้วยวิธี คีเลชั่น (Chelation) ก็มีรายงานถึงผลตอบรับที่ดี แต่ไม่ควรมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินเหตุ
- พบว่าการปฏิบัติสมาธิ สามารถควบคุมอาการของโรคได้ระดับหนึ่ง
* สรุป แนวทางสุขภาพพื้นฐาน
- ใช้เซลล์สมอง + ไพเนียล อย่างละ 1x3x30 วัน + อวัยวะรวม 1x1x30 วัน
- โคคิวเทนขนาด 2x3 หรือวันละ 300 – 1200 มก. (แบ่ง 3 – 4 มื้อ)
- โอพีซี 2x3 ร่วมกับวิตามินซี 1x3
- กรดแอลฟาไลโปอิค 1x3 ถึง 2x3
- น้ำมันปลา + โคลีน + วิตามินบี อย่างละ 1x2 ถึง 1x3
- จิบดื่มน้ำแมกนีเซียม
- ใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหาร ขนาดวันละ 20 กรัม เพื่อป้องกัน หรือ 2 – 4 ช้อนโต๊ะ เพื่อการรักษา
- ฝึกสมาธิ ตลอดจนหมั่นใช้สมองอ่าน คำนวณอยู่เสมอ ฯลฯ
สารเสริมในข้อ 2, 3 และ 4 อาจใช้แบบรวมเม็ดเดียวกัน ทั้งนี้พึงระวังการใช้น้ำมันปลา ร่วมกับแปะก๊วย วิตามินอี แอสไพริน ไอบิวโปรเฟน หรือยาละลายลิ่มเลือด หากต้องผ่าตัดสมควรปรึกษาและแจ้งข้อมูลการใช้แก่แพทย์แต่เนิ่นๆ
งดใช้วิตามินบี6 ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเลโวโดปา (L–dopa) โดยมิได้กินยาคาร์ไบโดปาควบคู่
งดใช้สารเสริมขนาดสูง ในผู้ป่วยที่ไตบกพร่อง ยกเว้นเซลล์ซ่อมเซลล์และหลินจือ