ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

อ่อนเปลี้ยรุนแรงเรื้อรัง

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

อาการอ่อนเปลี้ยรุนแรงเรื้อรังในที่นี้อาจครอบคลุมถึงโรค Fibromyalgia / Multiple sclerosis / Leukodystrophy / Leukoence-phalopathy / Adrenoleukodystrophy / Adrenomyeloneuropathy  

        กลุ่มอาการผิดปกติที่เป็นๆ หายๆ โดยตรวจร่างกายไม่พบสิ่งบอกเหตุ ไม่มีแนวทางการรักษาตายตัว แพทย์จิตเวชตะวันตก จะเหมารวมเรียก Functional Somatic Syndrome–FSS ซึ่งอาจรวมไปถึงกลุ่มอาการปวดประจำเดือน เส้นใยกล้ามเนื้ออ่อนแรง (fibromyalgia) อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง (chronic fatigue syndrome) เป็นต้น

        แล้วก็มีหลายโรคที่ได้รับการวิจัยเชิงลึกจนพบว่าเป็นเรื่องของภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (ภูมิเพี้ยน) เช่น กรณีความผิดปกติที่ปลายประสาท (neuromuscular junction) ซึ่งตัวรับคำสั่ง (Acetylcholine Receptor–AchR) บกพร่อง ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อโรคไมแอสทีเนีย แกรวิส (Myasthenia gravis)

        หากเป็นที่ส่วนของเส้นประสาท มีการทำลายเยื่อหุ้มฉนวนไมอิลิน (myelin sheath) ก็ยังเรียกแตกต่างกันไป ตามตำแหน่งที่อวัยวะชำรุด ผิดเพี้ยนได้อีก เช่น เป็นกับเนื้อเยื่อเส้นใยกล้ามเนื้อ ก็เรียก Fibromyalgia เป็นกับประสาทส่วนกลางหลายตำแหน่ง ก็เป็น Multiple sclerosis

        งานวิจัยมักตรวจพบภาวะพร่องอนุมูลอิสระ ที่ตำแหน่งของโรค กอปรกับผู้ป่วยส่วนใหญ่ (65%) มักเป็นโรคภูมิแพ้ (คนปกติพบ 20%) บางคนเป็น SLE หรือมีอาการของไข้หวัดใหญ่ ก่อนเกิดอาการเหล่านี้ตามมา มีการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเอบสไตน์บาร์ (Ebstein–Barr) สมองอักเสบ หรือระดับฮอร์โมนผิดปกติ

        ผู้ป่วยร้อยละ 55 มีอาการดีขึ้นจากการออกกำลังกายวันละ 5 – 30 นาทีเป็นประจำ แต่หากหักโหมเกินไปก็จะได้ผลตรงข้าม (ดูเหมือนพิษจาก Oxidative stress จะมาก เกินผลดีจากการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน)

 

กลไก / พยาธิสภาพ ของโรคที่เกิดอาการอ่อนเปลี้ยรุนแรงเรื้อรัง

        ระบบประสาทตั้งแต่ในสมอง ตลอดจนเส้นประสาทที่วิ่งสู่กล้ามเนื้อปลายทาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ เซลล์ประสาท เรียงตัวต่อเนื่องกัน… แต่ละเซลล์ประสาท ประกอบด้วยเซลล์บอดี้ (Cell body หรือ nucleus) และส่วนที่ยื่นยาวออกไปเสมือนแขนขา เรียก แอกซอน (axon) ปลายแอกซอน คือ เดนไดร์ท (Dendrite)

        แอกซอนเป็นตัวนำกระแสประสาท เปรียบเสมือนสายลวดทองแดงที่นำกระแสไฟฟ้า โดยมีฉนวนที่เรียกเยื่อหุ้มไมอิลิน (myelin sheath) หุ้มอยู่เป็นระยะๆ เห็นเป็นตุ่มๆ (node of Ranvier) กระแสประสาทถูกส่งผ่านอย่างรวดเร็ว โดยกระโดดจาก node ต่อ node หากเกิดเยื่อหุ้มไมอิลินชำรุดเสียหาย กระแสประสาทก็รั่วสู่เนื้อเยื่อรอบๆ แอกซอน เกิดอาการเจ็บปวด เสมือนไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟรั่วตลอดเวลา พบว่ามีโรคที่ทำลายเยื่อหุ้มไมอิลิน อยู่หลายแบบเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น

  1. กลุ่มที่อาการรุนแรงแต่กำเนิด พบอาการตั้งแต่อายุน้อย มีพยาธิสภาพที่สมองส่วน white matter ชำรุดเสียหาย (Leukodystrophy) เป็นหลัก ซึ่งหากสูญเสียการทำงานร่วมกับต่อมหมวกไต (adrenal gland) ก็เรียก Adrenoleukodystrophy – ALD (Leuko = ขาว = white matter ของสมองหรือไขสันหลัง หรือเยื่อหุ้มเส้นประสาท) มักเกิดอาการตั้งแต่เด็ก แล้วเสียชีวิตใน 2 – 3 ปี ต่อมา
  2. กลุ่มที่เกิดอาการเมื่ออายุมากขึ้น มักช่วงอายุ 20 – 30 ปี  หากมีการสูญเสียทั้งต่อมหมวกไต กล้ามเนื้อและระบบประสาท ก็เรียกรวมว่า Adrenomyeloneuropathy – AMN ซึ่งก็คือ ALD ที่มาเกิดช้าหน่อยนั่นเอง

        หากพบพยาธิสภาพที่ประสาทส่วนกลางหลายตำแหน่งก็เรียก multiple sclerosis–MS มักเป็นๆ หายๆ เป็นซ้ำในตำแหน่งเดิม ที่พบบ่อยคือ ประสาทตา ก้านสมอง และไขสันหลัง มีลักษณะเฉพาะ เช่น ปวดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (Trigeminal neuralgia) สะอึก อาเจียน ตัวเกร็ง พูดตะกุกตะกัก อ่อนเปลี้ย ปวดแสบร้อน คันยิบๆ หากเป็นกับเส้นประสาทส่วนปลาย โดยมักร่วมกับประสาทสมองคู่ที่ 7 มักขาอ่อนแรงเฉียบพลัน ก็เรียก Guillain–Barre’s syndrome หากเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อเส้นใย และกล้ามเนื้อมาก ก็เรียก Fibromyalgia–FM

 

ยาที่วงการแพทย์ใช้มักเป็นยาออกฤทธิ์ต่อภูมิคุ้มกัน (interferon beta)

        การที่ฉนวนหุ้มกระแสประสาทชำรุด ก็เปรียบเสมือนไฟรั่ว พอสมองสั่งการไปกล้ามเนื้อ กระแสประสาทไปไม่ถึงปลายทาง เพราะรั่วออกรายทาง เหมือนไฟช็อต จุดที่รั่วก็ปวดร้าวไปหมด ปลายทางก็อ่อนแรง กล้ามเนื้อหดตัวไม่ได้

        แนวทางการวินิจฉัยโรคภูมิเพี้ยน ของเยื่อหุ้มประสาทไมอิลิน ซึ่งมักปวดเนื้อตัวทั่วร่างกายร่วมกับอ่อนเพลียรุนแรงเรื้อรังจึงถือหลักการทดสอบ 18 จุดเฉพาะ (specific tender point testing – STPT) ว่าหากมีจุดกดแล้วเจ็บตั้งแต่ 11 จุดขึ้นไป (แม้เพียงกดเบาๆ) ก็บ่งชี้ว่าเป็นโรคนี้

        ส่วนในกรณีความเสื่อมของสมองจากโดปามีนบกพร่อง เนื่องจากเนื้อสมองเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวถูกทำลาย ก็อาจเกิดเป็นภาวะโรคพาร์กินสัน หากกระทบในส่วนของความทรงจำ (สูญเสีย Acetyl choline) มากกว่าก็เรียก อัลไซเมอร์ เป็นต้น

        Lorenzo oil  (น้ำมันลอเรนโซ)  เป็นชีวประวัติจริงที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ได้รับ 2 รางวัลตุ๊กตาทอง คือบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ทั้งที่เป็นเรื่องจริง) และนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม ในราว คศ.1978 พระเอกชื่อ Augusto แต่งงานกับภรรยาคือ Michaela แล้วได้บุตรชายชื่อ Lorenzo…พอบุตรชายอายุ 6 ขวบ ก็เริ่มป่วยเป็นโรคประหลาดที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น – ALD Lorenzo ป่วยเป็น ALD …แปลว่าอีก 2 – 3 ปีจะตาย Augusto ซึ่งไม่มีความรู้ทางแพทย์เลย ใช้วิธีเข้าห้องสมุดค้นคว้าจนทราบว่า โรคนี้เกิดจากผู้ป่วยไม่สามารถกำจัดกรดไขมันสายยาวมาก (very long chain fatty acid – VLCFA) ออกจากร่างกายได้ VLCFA จะไปทำลายเยื่อหุ้มไมอิลิน gALD

        มีความรู้ว่า กรดไขมัน Oleic อาจลดระดับ VLCFA ได้ แต่ Augusto นำมาลองแล้วไม่ได้ผล กับ Lorenzo แต่ก็ไม่ละพยายาม …พบว่ากรด erucic ได้ผล แต่การแยกสารนี้ทำให้บริสุทธิ์ได้ยาก และไม่คุ้มทุน แต่ในที่สุดก็มีนักวิทยาศาสตร์สกัดแยกออกมาจนได้ (เรื่องจริงมันยาวและยุ่งยากกว่านี้เยอะ) Augusto ผสมกรด Oleic acid กับกรด erucic ป้อนทางสายยางให้อาหารแก่ Lorenzo ที่นอนพงาบๆ ไม่รู้สึกตัวแล้ว ผลปรากฏว่าระดับ VLCFA ลดลง !…รอดชีวิตอาการดีขึ้นราวปาฏิหาริย์…ต่อมาเรียกกรด erucic นี้ว่า Lorenzo oil

        Hugo Moser เป็นแพทย์ที่กล้านำ Lorenzo oil ไปทดลองให้แก่เด็ก ALD  พันธุกรรม ที่ยังไม่เกิดโรค ผลปรากฎว่า ปัจจุบันเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่มีอาการของโรคเลย Augusto ได้รับปริญญาเอกจากการค้นพบนี้ และหวังว่าการปลูกถ่ายเยื่อหุ้มไมอิลิน น่าจะเป็นวิธีที่รักษาโรคนี้ได้อย่างถาวร

        แต่เหนือสิ่งอื่นใด Erucic acid เกี่ยวข้องกับน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดองุ่น...เป็นข้อเขียนของ นพ.แสตรนด์ ในหนังสือ เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริมบำบัดโรค…ความตายอาจ…กำลังครอบงำคุณ แปลโดยพรหมพัฒณ ธรรมะรัตน์จินดา

        ความในหนังสืออ้างถึงผู้ป่วยชื่อเดวิด ซึ่งมาป่วยเป็นโรค Leukoencephalopathy ระยะหลัง...คือหลังจากร่างกายปกติแข็งแรงมาตลอด แล้วเกิดอาการในวัยหนุ่ม สังเกตว่าขาของเขาเริ่มอ่อนแรงอย่างไม่ทราบสาเหตุ จนต้องเดินลากขาและหกล้มเป็นครั้งคราว ที่สุดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาหลายคนวินิจฉัยว่าเขาเป็นโรคดังกล่าว ที่น้อยคนจะเป็นกัน คือเป็นเกี่ยวกับความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองชนิดรุนแรง ซึ่งค่อนข้างคล้ายกับโรคเนื้อเยื่อแข็งซ้ำซ้อน โดยแพทย์กล่าวว่าไม่มีทางรักษา และเป็นโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

        แล้ว Leukodystrophy ชนิดที่ 2 ซึ่งมักเกิดตอนอายุ 20 – 30 ปี กับ Leukoencephalopathy ก็คือโรคที่สารขาว (white matter) ของสมองได้รับการรบกวน จนฝ่อไป หรือเรียกว่าโรคของ white matter ของสมอง…ก็เพียงแต่เรียกต่างกันนั่นเอง

        ไฮไลท์ที่เปลี่ยนแนวชีวิตแพทย์แผนปัจจุบันของนพ.แสตรนด์ มาเป็นแพทย์ทางเลือก หรือการแพทย์ผสมผสาน เกิดจาก…ลิชภรรยาของ นพ.แสตรนด์ ป่วยเป็นโรคประหลาดเมื่ออายุ 30 ปี เริ่มจากเหนื่อยล้าผิดปกติ แล้วทรุดลงจนก้าวขาเดินไม่ได้ อีกทั้งเจ็บปวดตามร่างกาย ภูมิแพ้ ไซนัสกำเริบ และติดเชื้อในปอด…แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายคนระบุว่าเป็นโรคเนื้อเยื่อแข็ง หรือ Fibromyalgia โดยแพทย์ทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเรื่องเกี่ยวโยงกับจิต อยู่ในกลุ่ม Functional somatic syndrome – FSS ก็ทรมานกับการรักษาที่ไม่บังเกิดผลอยู่นานหลายปี

        …สุดท้าย มาหายด้วยสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (โอพีซี) จากที่แพทย์ผู้เป็นสามีบอกว่า “ลองกินดูเถอะ ไม่มีอะไรต้องเสียไปมากกว่านี้อีกแล้ว” แล้วยังได้อานิสงส์ไปเผยแพร่แก่ผู้ป่วยชมรมโรคเดียวกันให้อาการทุเลาได้

        ส่วนในเรื่องของเนื้อเยื่อแข็งซ้ำซ้อน  ซึ่งเนื้อหาก็อธิบายว่า เป็นความผิดปกติของเยื่อหุ้มไมอิลิน เกิดการสูญเสียไป เกิดไฟไม่เดิน หรือช็อต…เข้าได้กับ MS (Multiple sclerosis) นักวิจัยได้แสดงหลักฐานว่าผู้ป่วยโรคนี้ มี Oxidative stress มาก ความเสียหายเกิดต่อระบบภูมิคุ้มกัน จากการที่ภูมิคุ้มกันเข้าทำลายเยื่อหุ้มไมอิลิน หรือ Oxidative stress เข้าทำลายประสาทต่างๆ โรคนี้ตอบรับต่อการบำบัดในระดับหน่วยเซลล์ ได้เป็นอย่างดี ด้วยการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอ มันจะช่วยให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมเยื่อหุ้มไมอิลินให้ฟื้นฟูได้อีกครั้ง สารต้านอนุมูลอิสระขนาดสูงที่อ้างถึงคือใช้

  • โอพีซี 200 – 300 mg/วัน
  • โคคิวเทน 100 – 200 mg/วัน

 

หลักการรักษาพื้นฐานฯ

        ความอ่อนเพลีย เป็นอาการพื้นฐานของปัญหาต่างๆ เช่น โภชนาการไม่ดี ขาดการออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จับไข้ ตลอดจนโรคทางสมอง และระบบประสาท เครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ภูมิคุ้มกันต่ำ เบาหวาน ความไม่สมดุลของต่อมหมวกไต หัวใจ ไต ตับ ไปจนถึงโรคที่พบไม่บ่อยเช่น ทางเดินประสาทชำรุด

        อาการอ่อนเพลียที่พบบ่อยๆ ในคนส่วนใหญ่ มักเป็นอาการของการขาดวิตามินบี12 โดยไม่รู้ตัว หลายคนที่ชอบให้น้ำเกลือ พอเติม บี12 สีแดงๆ ลงในน้ำเกลือ ให้แล้วก็สดชื่นทันใด การฉีด บี12 นี้ สามารถทดแทนได้ด้วยการกินวิตามินบี12 แทน ร่วมกับการรักษาภาวะกรดในกระเพาะอาหาร พบว่าผู้ที่อ่อนเพลียเป็นเวลานาน มักเสียชีวิตก่อนเกณฑ์

        เมื่อเป็นโรคภูมิเพี้ยน (อ่านรายละเอียดในเรื่องภูมิเพี้ยน) ก็มักใช้หลักการรักษาเดียวกันที่สำคัญก็คือ ปิดกั้น Oxidative stress ที่จะเข้ามาใหม่ หรือมาซ้ำเติมเนื้อเยื่อ โครโมโซมที่มีแนวโน้มอ่อนไหวง่ายอยู่แล้ว ให้มากที่สุด ซึ่งในกรณีได้รับแต่เนิ่นๆ เช่น ในโรค Leukodystrophy ก็สามารถป้องกันอาการรุนแรงของโรค และผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ยืนยาว ดูเหมือนว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้รับการยอมรับ และกล่าวถึงมากที่สุดก็คือ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (โอพีซี)

        ครั้นมาดูพยาธิสภาพของโรค ที่มักชำรุดในระบบกระแสประสาท เส้นประสาท จุดรับอเซทิลโคลีน โดปามีน ก็คงคิดถึงสารอาหารที่ถูกใช้เป็นวัตถุดิบ ซ่อมสร้างเส้นประสาท เช่น EPA และ DHA จากน้ำมันปลา สารโคลีน วิตามินบี12, บี6 แร่ธาตุแมกนีเซียม ตลอดจนฮอร์โมนเอสโตรเจนจากพืช

        อีกสาระสำคัญ คือ เซลล์ของสมองเอง หากยังมีเหลือมากพอให้ซ่อม หากซ่อมได้ด้วยเซลล์สมอง ต่อมใต้สมอง หมวกไต ตลอดจนซ่อมอวัยวะ ที่สร้างภูมิคุ้มกัน เช่น ไทมัส ก็น่าจะเป็นตัวเลือกลำดับต้น ที่ง่าย และมีสาระกว่าการใช้ยา หรือกระแสไฟฟ้ากระตุ้น ทั้งหลาย ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวแผนปัจจุบัน ที่กำลังหาหนทางปลูกถ่ายเซลล์สมอง หรือเยื่อหุ้มไมอิลิน

 

* สรุป แนวทางดูแลในผู้อ่อนเพลียรุนแรงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ ชัดเจน

  1. โอพีซี 200 – 300 มก./วัน
  2. โคคิวเทน 100 – 200 มก./วัน
  3. น้ำมันปลา และโคลีนบี อย่างละ 1x3
  4. เซลล์ตับ + ไทมัส + ต่อมใต้สมอง + หมวกไต อย่างละ 1x2x10 และอวัยวะรวม 1x1
  5. จิบดื่มน้ำแมกนีเซียม แทนน้ำเปล่า
  6. นมถั่วเหลือง เช้า + ก่อนนอน