ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

ปวดข้อ / ข้อเสื่อม

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ข้อเสื่อม (osteoarthritis, osteoarthrosis) คือโรคที่เกิดจากการเสื่อมสึกหรอของข้อต่อต่างๆ ที่รับน้ำหนัก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อสันหลัง บั้นเอว และส่วนต้นคอ ผลคือ ปวด

ข้อเสื่อมเป็นปัญหาของผู้สูงอายุ ไม่ว่าชายหรือหญิง ต่างจากข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยต่อเชื้อโรค หรือสารพิษบางอย่าง

 

สาเหตุ

  • นอกจากภาวะเสื่อมสภาพ ข้อรับน้ำหนักไม่ไหว เป็นส่วนใหญ่แล้ว ต้นเหตุของการปวดข้อจากข้อเสื่อม
  • อาจมาจากการติดเชื้อจุลินทรีย์ อาจเริ่มจากการมีน้ำมูกไหล เสมหะเรื้อรัง ค่อยๆ เกิดอาการเจ็บคอ อาการเหล่านี้ยังน่าจะเป็นสัญญาณเตือนของร่างกาย เกี่ยวกับการพยายามขับถ่ายของเสียที่เกิดจากอาหารที่ทานเข้าไป เช่น แป้ง น้ำตาลมากๆ ชา กาแฟที่มากเกิน เกลือมากเกิน
  • การใช้ท่าทางที่ผิดโครงสร้างธรรมชาติ ของร่างกายไม่ว่าท่านั่ง ท่ายืน ที่นอน ซึ่งยุบตัวมากเกิน ล้วนเป็นเหตุของอาการปวดข้อ และข้อเสื่อม
  • หมอนรองกระดูก จากการรับน้ำหนักที่ผิดรูป และมากเกิน ทำให้เคลื่อนมากดทับเส้นประสาททางออก
  • การเกิดหินปูนเกาะจากภาวะแคลเซียมล้นเกิน
  • ความเครียด ความวิตกกังวล ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดหลัง ลองสังเกตเวลาเต่ามันกลัวจะหดหัวเข้าในกระดอง คนเราเมื่อกลัวหรือกังวล กล้ามเนื้อคอจะเกร็งตัวโดยสัญชาตญาณ ผลคือปวดต้นคอมากขึ้น นานเข้าก็ร้าวไปถึงหลัง

 

แนวทางการป้องกัน – บำรุง และรักษา

  • การใช้ยาแก้ปวดไม่ว่าพาราเซตามอล แอสไพริน ไอบิวโปรเฟน เป็นประจำ ทำให้ร่างกายดื้อยา ต้องใช้ปริมาณมากขึ้น ความอดทนต่ออาการปวดลดน้อยลง ในขณะที่พิษร้ายของยาแก้ปวดต่อร่างกาย เกิดขึ้นมากมาย…หนทางเดียวในการแก้ไข คือต้องลด เลิก ยาเหล่านี้เสีย
  • จัดท่านั่ง ท่ายืน การนอน การยกของหนัก ท่าการผลักดัน (เข็นรถ) ให้ถูกต้อง (เช่น ท่าที่ดีของการเข็นรถหนักคือ ใช้บั้นท้ายดัน ไม่ใช่โน้มตัว ใช้มือผลักไปข้างหน้า)
  • การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อที่ดี คือ ออกกำลังในน้ำ ฮูลาฮูบ เพื่อหลีกเลี่ยงการรับน้ำหนักของข้อที่อ่อนแออยู่แล้ว
  • การเติมแคลเซียม ต้องจัดสัดส่วนให้มี แมกนีเซียม โดยเฉพาะการดื่มนมวัว  ซึ่งมีสัดส่วนของแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูงเกิน ล้วนต้องแก้ไขด้วยการเพิ่มแมกนีเซียมแบบค่อยๆ เสริมเติมเข้าไป(สัดส่วนที่เหมาะสมของแคลเซียม ต่อแมกนีเซียม คือ 1:1 ถึง 2:1, สัดส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัส คือ 2:1 แต่นมวัวมี แคลเซียม:แมกนีเซียม = 15:1 และ แคลเซียม:ฟอสฟอรัส = 1:15)
  • น้ำมันปลา เป็นแหล่งของสารอีพีเอ ลดการสร้างสารก่ออักเสบ
  • วิตามินซี แร่ธาตุสังกะสี เป็นสารอาหารที่ใช้สร้างคอลลาเจนทั่วร่างกาย การใช้วิตามินซีวันละ 1000 มก. ยังช่วยผลักดันกรดยูริกออกทางไต ช่วยแก้โรคเกาต์ได้ด้วย
  • เซลล์ซ่อมเซลล์ตามหลักการแพทย์ชีวโมเลกุล เป็นหนทางที่ตรงประเด็น ในการซ่อมแซมเซลล์กระดูก กระดูกอ่อน ข้อ เซลล์ของกล้ามเนื้อ ตลอดจนสมองส่วนที่หลั่งสารคลายเครียด ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองให้กระตุ้นอวัยวะเป้าหมาย ให้หลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเสริมสร้าง หรือยับยั้งการสลายตัวของกระดูก และข้อ

 

จะวัดผลอย่างไร

        สิ่งที่เป็นสาระหลักของการรักษา คือชีวโมเลกุลเซลล์ซ่อมเซลล์ นอกจากผลพลอยได้บางประการที่สังเกตได้ในระยะเวลา 7 – 10 วัน เช่น ลดการหลุดร่วงของเส้นผม ลดการหย่อนคล้อยของถุงใต้ตา การนอนหลับพักผ่อนได้ลึกยาวนานขึ้น ผิวที่สดชื่น เนียนใสขึ้น ในกรณีของอาการปวดข้อ มักพบการทุเลาลงของอาการปวดในระยะ 3 – 10 วัน ซึ่งหากมีผลตอบรับลักษณะนี้ โดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด ก็น่าจะแสดงว่ามาถูกทางแล้ว

 

จะได้ผลทุกคนไหม ?

        มีหลักความจริงอยู่ว่า ไม่มียาวิเศษใด ที่ใช้ได้ผลกับทุกคน ในทุกกรณี ไม่ว่าราคาจะถูกหรือแพงเพียงใด เพราะยังมีปัจจัยอีกมากหลายนอกจากเซลล์ซ่อมเซลล์ ผู้ใช้จึงต้องมีความเข้าใจพื้นฐานหลักวิชาการ ใช้เหตุผลวิจารณญาณ ประกอบการตัดสินใจ ประการสำคัญนอกเหนือจาก ความสิ้นเปลืองเงินทองแล้ว อันตรายจากการใช้ หรือพิษร้ายข้างเคียง มีหรือไม่ เพียงไร

 

* สรุป แนวทางสุขภาพพื้นฐาน รักษาปวดข้อจากข้อเสื่อมโดยไม่ใช้ยา

  1. อย่าให้อ้วน ระวังท่านั่ง ยืน นอน การยกของ การออกแรงผลักดัน วิธีออกกำลังกาย ให้ไม่ทำร้ายโครงสร้างของร่างกาย ลดอาหารที่เป็นกรด ไม่ว่า โปรตีน ไขมัน ของหวาน แป้ง น้ำตาล น้ำอัดลม สุรา กาแฟ ของเค็ม ยาเคลือบกระเพาะ ยาสเตียรอยด์ ตลอดจนยาแก้ปวดทั้งหลาย
  2. หมั่นทานผัก ผลไม้ (หวานน้อยปลอดสารพิษ) ให้มากๆ สม่ำเสมอ เน้นข้าวกล้อง ถั่ว ธัญพืชด้วย
  3. จิบน้ำดื่มที่ผสมแมกนีเซียมตลอดวัน…หากบกพร่องไปในข้อ 2
  4. เซลล์กล้ามเนื้อ ต่อมหมวกไต อย่างละ 1x2
  5. เซลล์ต่อมไพเนียล และต่อมใต้สมอง อย่างละ 1x2
  6. วิตามินซี แร่ธาตุสังกะสี โอพีซี และเบต้ากลูแคน
  7. ดื่มนมถั่วเหลือง เช้าและก่อนนอน
  8. น้ำมันปลา 1x3(ระวังการใช้ร่วมกับแอสไพริน ไอบิวโปรเฟน หรือยาละลายลิ่มเลือดอื่นๆ)