ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

อัลไซเมอร์

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

Alzheimer’s disease เป็นความผิดปกติที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง ทำให้สูญเสียความทรงจำ และการทำงานของจิตใจ เช่น จำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ นึกคำพูดไม่ได้ แก้ปัญหาง่ายๆ ไม่ได้ สับสนเรื่องเวลา สถานที่ บุคคล และความสัมพันธ์ หลงทางในที่ที่คุ้นเคย มีบุคลิกเปลี่ยนไป หัวเราะหรือร้องไห้โดยไร้เหตุผล หวาดกลัว สูญเสียความสามารถในการใช้ภาษา เช่น คุยเรื่อยเปื่อย หยุดนิ่งคราวละนานๆ พูดวกวน อาจควบคุมการขับถ่ายไม่ได้

พบอัตราโรคนี้ราวร้อยละ 2 – 4 ของผู้ที่อายุเกิน 60 ปี และพบเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุกๆ 5 ปีของอายุที่เพิ่มขึ้น หลังอายุ 60

สาเหตุ

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ พบว่ามีการสูญเสียเซลล์ประสาท สมองไปจำนวนมาก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำและความคิด สารเคมีในสมองที่สำคัญต่อความจำลดลง สาเหตุที่พอทราบเกิดจาก การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง โรคหัวใจหลอดเลือด การติดเชื้อไวรัส ตลอดจนสารพิษโลหะหนักสะสม พบว่าคนที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ถูกตัดออกไปจะไม่สามารถสร้างความจำถาวรเกี่ยวกับความจริง และเหตุการณ์ขึ้นมาใหม่ ผู้ป่วยที่สมองขาดเลือดชั่วคราว เช่น จมน้ำ หัวใจหยุดทำงานเฉียบพลันชั่วคราว มีการตายของสมองบริเวณที่ไวต่อการขาดออกซิเจน เช่น ฮิบโปแคมปัส พบว่าจะเหลือแต่ความจำในอดีต ไม่สามารถรับรู้สิ่งใหม่ เพราะขาดความจำระยะสั้น เชื่อว่าสมองส่วนหน้า (Dorsolateral prefrontal cortex) มีบทบาทเกี่ยวกับสมาธิ การประมวลข้อมูล สร้างความจำ ความคิดริเริ่ม การทำลายสมองบริเวณนี้จะทำให้นึกชื่อ หรือคำพูดทันทีไม่ได้ ไม่วางแผนการทำงาน สมาธิสั้น ขาดการยับยั้งพฤติกรรมที่กระตุ้นจากสมองส่วนล่าง (Basal ganglia และ Premotor cortex) อัลไซเมอร์มีพยาธิสภาพที่สมอง ส่วนที่เรียก Limbic cortex และ Association cortex มีการสูญเสียเซลล์ประสาท คล้ายการทำลายสมองส่วน Hippocampus ตำแหน่งที่มีความบกพร่องทางชีวเคมีในคนสูงอายุ อยู่ที่สมองส่วนหน้า (Prefrontal lobe) Prefrontal lobe ได้รับโดปามีน จำนวนมากจากสมองส่วนล่าง และรอบข้าง การขาดโดปามีนมีผลเท่ากับสมองถูกทำลาย ยาที่แพทย์สั่งบางชนิดมีผลต่อความจำ รวมถึงยารักษาเบาหวาน ซึมเศร้า พาร์กินสัน และแผลในกระเพาะอาหาร (อลูมินั่ม)

การรักษาแผนปัจจุบัน

ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด

ความรู้สู้อัลไซเมอร์

การออกกำลังกาย ฝึกสมอง โดยการอ่านหนังสือ เล่นเกมส์ปริศนา บริหารความจำ ผ่อนคลาย พัฒนาสมาธิ การซ่อมเซลล์สมองด้วยชีวโมเลกุล น่าจะคาดหวังผลได้ หากสมองยังเหลือเซลล์ให้ซ่อม

ต่อมไพเนียลเป็นอวัยวะหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นให้สร้างสารสื่อประสาท ไปถึงเมลาโทนิน การขาดฮอร์โมนเพศ ก็มีผลต่ออาการกำเริบของโรคสมองเสื่อม ดังนั้นการให้เซลล์ต่อมใต้สมอง และรังไข่ในผู้ป่วยหญิง หรืออัณฑะในผู้ป่วยชาย เพื่อซ่อมอวัยวะสร้างฮอร์โมน จึงน่าจะเป็นแนวทางการเยียวยาได้ทางหนึ่ง

น้ำมันปลาให้สาร DHA เป็นสารสร้างประสาทสมอง

โคลีน วิตามินบี6 โคคิวเทน และแมกนีเซียม เป็นปัจจัยในการสร้างสารสื่อประสาท (AcCh)

จมูกข้าวสาลีก็มีโคลีน และสาร GABA สูง นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Case Western Reserve University ได้สรุปว่า Oxidative stress ที่เพิ่มขึ้นตามอายุนั้นเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีสารต้านอนุมูลอิสระในสมองที่น้อยลง แต่มีระดับของ Oxidative stress ที่สูงขึ้น

โอพีซี โคคิวเทน และกรดไลโปอิค มีความสามารถซึมผ่านแนวกั้นสมอง เข้าไปทำลายอนุมูลอิสระ นำโลหะหนักออกมา ขับถ่ายออกทางไตได้ส่วนหนึ่ง จึงอาจอาศัยทีมสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยได้แรงหนึ่ง อย่างน้อยๆ ก็ชะลอภาวะสมองเสื่อมโดยเร็วได้ มีการศึกษากับคนจำนวนมากครั้งแรกของสหรัฐ เกี่ยวกับผลของแปะก๊วย ที่มีต่ออัลไซเมอร์ พบว่าช่วยให้การดำเนินโรคช้าลงถึง 6 เดือน อย่างมีนัยสำคัญ โดยเข้าใจว่า แปะก๊วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น อีกทั้งอาจเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาเซลล์ประสาท

น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบส่วนใหญ่ (62.5%) เป็นกรดไขมันขนาดกลาง (MCFA หรือ MCT) ในขณะที่กรดไขมันในน้ำมันอื่นๆ เป็นขนาดยาว จึงมีรายงานที่น่าอัศจรรย์ในผลการตอบรับที่ดีอย่างมีนัยสำคัญของอัลไซเมอร์ต่อน้ำมันมะพร้าว ของแพทย์หญิงระดับผู้อำนวยการโรงพยาบาลในอเมริกา ต่อการรักษาสามีวัย 55 ซึ่งป่วยเป็นอัลไซเมอร์ขั้นรุนแรง จนหมดหวังจากวิธีทางแพทย์

ข้อได้เปรียบของ MCT คือถูกดูดซึมและเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็วหลังบริโภค ตลอดจนผ่านเข้าสู่เซลล์ให้ใช้เป็นพลังงานได้ ในขณะที่หากเป็นน้ำตาล ต้องใช้อินซูลินนำเข้าเซลล์ ดังนั้นถ้าเซลล์ดื้ออินซูลิน ก็ใช้น้ำตาลไม่ได้

เซลล์ประสาท ก็ต้องการพลังงานเหมือนเซลล์ทั่วไปของร่างกาย ในขณะที่น้ำตาลเข้าไม่ถึงเซลล์ประสาทสมอง แต่ MCT ของน้ำมันมะพร้าวผ่านเข้าไปได้ ทำให้เซลล์สมองได้รับอาหาร สามารถใช้สารอื่น เช่น โคลีน โคคิวเทน ร่วมประโยชน์ในการสร้างสารอะเซทิลโคลีนได้ การสื่อประสาทเกิดได้ปกติ…อาการสมองเสื่อมย่อมไม่เกิด อัลไซเมอร์จึงไม่กำเริบ เซลล์สมองที่ปางตาย อาจกลับฟื้นคืนได้

นับเป็นรายงานล่าสุดของการใช้น้ำมันมะพร้าว VCO รักษาโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ด้วยกรรมวิธีง่ายๆ คือบริโภค…โดยสมควรก้าวข้ามงานวิจัยรับรองผลที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ไปก่อน โดยเฉพาะกับผู้ป่วยหรือญาติที่หมดหวังแล้ว โดยบันทึกความเปลี่ยนแปลง ก่อน หลังใช้ 7 วัน เช่น ให้ลองวาดรูปนาฬิกา เขียนคำ วาดรูป ก่อนทาน VCO แล้ว 7 วัน ต่อมาให้ทำซ้ำ

อย่างไรก็ตาม ก็เช่นเดียวกับทฤษฎีเซลล์ซ่อมเซลล์ MCT คงไปซ่อมบำรุงเซลล์สมองที่ยังคงมีชีวิต ให้ดำรงคงอยู่เท่านั้น ไม่สามารถช่วยเซลล์สมองส่วนที่ถูกทำลายแล้วให้ฟื้นคืนชีพได้ การได้รับน้ำมันมะพร้าวแต่เนิ่นๆ จึงเป็นหนทางง่ายที่สุด สะดวก ประหยัด ปลอดภัยที่สุดในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เซลล์สมองที่อ่อนล้าใกล้ตายอยู่ เมื่อได้พลังงาน MCT หรือคีโตนจากการที่ตับเปลี่ยน MCT จากน้ำมันมะพร้าวเป็นคีโตนจึงชุบฟื้นคืนชีพได้ เป็นคำตอบว่า อาการความจำเสื่อม สมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ดีขึ้นได้อย่างไร เมื่อบริโภคน้ำมันมะพร้าว VCO แม้จะไม่เต็มร้อย ! อย่างน้อยๆ ก็ลบล้างความเชื่อที่ว่า โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์รักษาไม่ได้ ! ขนาดน้ำมันมะพร้าวที่ใช้คือมื้อละ 1 ช้อนโต๊ะ 3 เวลา พร้อมหรือหลังอาหาร…วิธีที่สะดวกคือใช้ปรุงอาหารซะเลย !

กรณีที่ต้องการใช้แบบบำรุง ป้องกันโรค ควรกินน้ำมันมะพร้าวตอนเช้า เพราะต้องใช้เวลาราว 3 ชม. ในการที่ MCT จะเปลี่ยนเป็นคีโตน และเข้าสู่สมองน้ำมันมะพร้าว VCO จึงเป็นอาหารที่ต้องเลือกสำหรับผู้รักสุขภาพ ให้ห่างไกลอัลไซเมอร์อีกด้วย

อย่าลืมว่า นอกจากดีกับอัลไซเมอร์แล้ว พาร์กินสัน โรคประสาทเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนล้ารุนแรงเรื้อรัง ดาวน์ซินโดรม ออทิสติก เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต ก็ล้วนได้อานิสงส์จากกลไกการบำบัดด้วย MCT จากน้ำมันมะพร้าว VCO

ขนาดที่ร่างกายต้องการต่อวันคือ 20 กรัม MCT หรือ 2 ช้อนโต๊ะ

* สรุป อาหารต้านอัลไซเมอร์

  1. ให้เซลล์สมอง ต่อมใต้สมอง + ไพเนียล + รังไข่ (ในหญิง) / อัณฑะ (ในชาย) อย่างละ 1x3x30 วัน อวัยวะรวม 1x1x30 วัน
  2. โคคิวเทน + โอพีซี + กรดไลโปอิค + วิตามินซี + กลูต้าไทโอน อย่างละ 1x3 (ใช้แบบรวมในเม็ดเดียว)
  3. น้ำมันปลา + โคลีน  วิตามินบี อย่างละ 1x3
  4. จิบดื่มน้ำแมกนีเซียม
  5. ใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหาร ขนาดวันละ 20 กรัม เพื่อป้องกัน หรือ 2 – 4 ช้อนโต๊ะ เพื่อการรักษา
  6. ฝึกสมาธิ ตลอดจนฝึกสมองอ่าน คำนวณ เล่นเกมส์

การใช้น้ำมันปลาร่วมกับแปะก๊วย วิตามินอี แอสไพริน ไอบิวโปรเฟน หรือยาละลายลิ่มเลือด หากมีบาดแผล หรือผ่าตัด ต้องงดหรือแจ้งแพทย์ทุกครั้ง

มีรายงานระบุว่า การใช้แอสไพริน ละลายเกล็ดเลือด แลกกับผลระคายเคืองกัดเยื่อบุกระเพาะ เป็นการได้ไม่คุ้มเสีย…น้ำมันปลา จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า