คนจีนเชื่อว่าพลังงานแห่งจักรวาลมีอยู่ 2 ขั้ว คือ หยิน และ หยาง (Yin – Yang) หยาง เป็นพลังงานที่เข้มแข็ง (active) และสร้างสรรค์ หากมากไปก็ออกฤทธิ์ร้อน หยางเกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ ความสว่าง สรรค์สร้างจากสมองซีกขวา เป็นขั้วบวก เป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย
หยิน เป็นพลังฤทธิ์เย็น เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ ความมืด และความตาย หยิน เกิดจากสมองซีกซ้าย เป็นขั้วลบ สัญลักษณ์ของเพศหญิง หากพลังงานหยินมากไปก็เป็นฤทธิ์เย็น หยิน – หยาง ต้องสมดุล จึงจะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ชีวิตไหลลื่นไม่ติดขัด เจ็บป่วย จึงต้องปรับสภาวะด้วยอาหาร พลังตรงข้ามกัน หรือลดอาหารที่ส่งพลังเดียวกัน
ภาวะร้อนเกิน :
- หิวน้ำ หิวข้าวง่าย
- อ่อนล้า อ่อนเพลีย
- เครียด คุมอารมณ์ไม่อยู่
- เหงื่อออกง่าย
- ลมหายใจร้อน
- คอแห้ง
- ปวดหัว ตัวร้อน
- นอนไม่หลับ
- มีแผลในช่องปาก ลิ้น (ร้อนใน)
- เป็นสิว กระ
- งูสวัด เริม ขึ้นง่าย
- ผิวแห้ง ผื่นคัน
- หน้าแดง ตาแห้ง ริมฝีปากแตกแห้ง
- ตาแดง มีน้ำตามาก
- เท้าร้อน
- เลือดกำเดาไหล
- ปัสสาวะสีเข้ม (น้ำน้อยไป)
- อุจจาระแข็ง ท้องผูก (ขาดน้ำในลำไส้)
- โรคที่เกิดจากภาวะร้อนเกิน
- ไทรอยด์เป็นพิษ หลอดโลหิตตีบตัน ความดันสูง คอเลสเตอรอล เบาหวาน อ้วน
การปรับสมดุลสำหรับผู้มีอาการร้อนเกิน
- งดน้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำหวาน เหล้า เบียร์ บุหรี่
- ดื่มน้ำครั้งละไม่เกินครึ่งแก้ว แต่บ่อยทุก 1 – 2 ชม. เฉลี่ยตามน้ำหนักตัว คือ 30 มล./กก.น้ำหนักตัว
- แก้ด้วยอาหารฤทธิ์เย็น ได้แก่ ผักใบเขียว ของรสขม และผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น ส้มทั้งหลาย สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล มะละกอ มังคุด แตงไท แตงโม ชมพู่ สาลี่ แก้วมังกร แคนตาลูป มะระ สะเดา เฉาก๊วย น้ำเต้าหู้ ลูกเดือย ไอศกรีม และเกลือ
ช่วงเวลาที่เหมาะ คือ ยามบ่าย เพราะเป็นเวลาที่อุณหภูมิร่างกายได้รับความร้อนสูงสุด
ภาวะเย็นเกิน :
- ท้องอืด จุกเสียดแน่น
- หนาวสั่นได้ง่าย
- เป็นหวัด น้ำมูกใส แต่ไม่เจ็บคอ
- ตาแฉะ ขี้ตามาก หนังตาบวม
- หน้าซีด หน้ามืด วิงเวียนบ่อย
- มึนหัวตื้อๆ
- เหน็บชา
- สมองเฉื่อย คิดช้า
- ตะคริว นิ้วล็อก ข้อติด บวมตามข้อ
- รูมาตอยด์
- ไตวาย
- ภูมิแพ้ หอบหืด
- ถ่ายอุจจาระลำบาก
วิธีปรับสมดุลภาวะเย็นเกิน
- ดื่มน้ำอุ่นตอนเช้า ตื่นนอน และก่อนนอน
- ใช้อาหารฤทธิ์ร้อน ได้แก่ ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ ใบกะเพรา พริก หอมกระเทียม อบเชย สะระแหน่ ยาหอม แป้ง ของหวาน
- สวนกาแฟ