ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

อาหารต้านโรค

แมกนีเซียม

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญสุดๆ ของร่างกาย โดยมีอยู่ในเซลล์มากเป็นอันดับสองรองจากโปแตสเซียม (แต่โปแตสเซียมนั้นร่างกายมักได้รับเพียงพอจากอาหารอยู่แล้ว)

พืชก็มีแมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบโครงสร้างใจกลางโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ เปรียบเสมือนแกนหลักแห่งชีวิตของพืช โดยแมกนีเซียมเป็นศูนย์กลางของวงแหวนพอร์ฟัยริน (Porphyrin ring) ของคลอโรฟิลล์ ทำนองเดียวกับธาตุเหล็กเป็นศูนย์กลางของวงแหวนพอร์ฟัยริน ของฮีโมโกลบินในคน

ปริมาณทั้งหมดของแมกนีเซียม ในร่างกายปกติ มีอยู่ประมาณ 20 กรัม หรือมากกว่าธาตุเหล็ก 10 เท่า แต่เบากว่า 5 เท่า

แต่เราไม่สามารถตรวจหาการขาดแมกนีเซียมได้ เนื่องจาก 60% อยู่ในกระดูกร่วมกับแคลเซียมและฟอสเฟต ฯลฯ อีก 39% อยู่ในเซลล์ เหลือ 1% ในกระแสเลือด จึงทำให้ขาดความตระหนัก ในแร่ธาตุเสบียงสำคัญนี้ไป

3 ใน 4 ของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดของร่างกาย หรือกว่า 300 ปฏิกิริยาเคมี ต้องอาศัยแมกนีเซียมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา หรือ Cofactor โดยเฉพาะการผลิตพลังงาน ATP ร่วมกับน้ำย่อย ATPase แมกนีเซียมจึงเปรียบเสมือนน้ำมันเครื่องประจำห้องเครื่อง (อันหมายถึง ไมโตคอนเดรียของเซลล์) คอยทำงานควบคู่กับโคคิวเทน อันเปรียบเสมือนช่างเครื่องผู้จุดประกาย…

การคลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ ต้องอาศัยและใช้แมกนีเซียม สิ้นเปลืองไป ซึ่งหากขาดแมกนีเซียม เซลล์ที่หดตัวได้อาจค้างคาในท่ากล้ามเนื้อหด เพราะคลายตัวไม่ได้ ซึ่งหากเป็นกับกล้ามเนื้อหัวใจ ผลที่พบคือ หัวใจหยุดเต้นในท่าหดตัว (Cardiac contraction)…ตาย !

เมื่อใดที่ร่างกาย หรือเซลล์ที่ต้องใช้แมกนีเซียมทำงาน แต่มีไม่เพียงพอ มันจะดึงแมกนีเซียมออกมาจากกระดูก เพื่อใช้กับงานจำเป็นเร่งด่วนไปก่อน ผลก็คือ เหลือแต่แคลเซียมกับฟอสเฟต จับตัวกันที่กระดูก ทำให้ไม่แข็งแกร่ง (แมกนีเซียม เป็นตัวเสริมความแข็งแกร่ง ดังเช่น ล้อแมกซ์รถยนต์ ซึ่งเบาแต่แข็งมาก) ดังนั้น กรณีที่กระดูกขาดแมกนีเซียม ผลตามมาคือ กระดูกพรุน หรือเปราะ ถูกกระทบนิดหน่อยก็หักได้ง่าย ดังที่เราพบผู้สูงอายุกระดูกหักโดยเฉพาะที่คอ กระดูกต้นขา

ปริมาณปกติของแมกนีเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวัน คือ 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ในสัดส่วน แมกนีเซียมต่อแคลเซียม = 1:2 หรือหากได้รับ = 1:1 ก็ยิ่งดี โดยพบว่าการได้แมกนีเซียมเกินต้องการ ไม่เกิดพิษภัยร้ายแรง (ยกเว้นผู้ที่ไตเสียหรือตั้งใจกินฆ่าตัวตาย) แต่หากได้แคลเซียมมากโดยขาดแมกนีเซียมร่วม จะเกิดผลเสียมากมาย อาทิ การเกิดหินปูนเกาะที่อวัยวะต่างๆ ที่เรียก Calcification เช่น นิ่วในไต, ลิ้นหัวใจที่มีแคลเซียมเกาะ ทำให้ปิดไม่สนิท หัวใจจะบวมโตเพราะทำงานหนัก เกาะที่หลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ เกิดความดันโลหิตสูง

สภาวะแคลเซียมเกาะ (Calcification) ที่น่ากลัว คือ ไปเกาะที่ไมโตคอนเดรีย เนื่องจากแมกนีเซียมถูกไล่หรือลดน้อยในเซลล์ ทำให้ไมโตคอนเดรียหยุดทำงาน

พบว่า ม้า วัว เมื่อกินหญ้าที่นิยมใส่ปุ๋ยแอมโมเนีย (ซึ่งขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุแมกนีเซียม, สังกะสี และทองแดง) จะเกิดอาการขาสั่นเกร็งได้ง่าย โดยจะมีอาการทุเลาเมื่อได้แมกนีเซียม

แม้แต่หมูและวัว ที่เครียดตายง่ายจากการขนส่ง ก็พบว่า สามารถป้องกันได้จากการให้แมกนีเซียมก่อนเดินทาง

มีการทดลองในไก่เนื้อ ที่มักตายช่วงขนส่ง เมื่อเสริมแมกนีเซียมก็ได้ผลเช่นเดียวกัน

ในหญิงตั้งครรภ์ หากได้แมกนีเซียมจากอาหารประจำวันไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแมกนีเซียมจากกระดูก ไปให้ทารกสร้างกระดูกและใช้ในกิจกรรมของไมโตคอนเดรีย เป็นผลให้กระดูกเปราะบาง ที่สำคัญ คือ อาการจะรุนแรงในช่วงคลอด เนื่องจากมีความเครียด, กลัว, เจ็บ เข้าเสริมการใช้จ่ายแมกนีเซียม คนที่ขาดรุนแรงจนส่ออาการครรภ์เป็นพิษ (บวม ความดันสูง มีโปรตีนในปัสสาวะ) ต้องรีบฉีดแมกนีเซียมเพื่อสกัดกั้นอาการชักในช่วงภาวะวิกฤติ ซึ่งร่างกายดึงแมกนีเซียมจากกระดูกมาไม่ทันเสียแล้ว

ขณะออกกำลังจะมี Catecholamine อันเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด หลั่งออกมา ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว (ใช้แคลเซียม) ต่อเมื่อคลายตัวก็ต้องใช้แมกนีเซียมช่วย สลับกันไป อีกทั้งมีการสูญเสียแมกนีเซียม ไปกับหยาดเหงื่อ ซึ่งหากขาดแมกนีเซียมมาก อาจพบอาการตะคริวในลักษณะที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง ไม่คลายตัว ซึ่งต้องแยกจากอาการชักจากขาดแคลเซียม

ตะคริวจากขาดแมกนีเซียม นอกจากนวดคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง พักรอให้แมกนีเซียมไหลจากกระดูกมาเสริมแล้ว การได้แมกนีเซียมเพิ่มเป็นสิ่งจำเป็น

หากขาดมากๆ จนกระทบกล้ามเนื้อหัวใจ ผลก็คือ หยุดคลายตัว (ตาย)

นักกีฬาที่แกร่ง อึด จึงต้องไม่ขาดแมกนีเซียม

ความลับทางเวชศาสตร์การกีฬาของต่างประเทศ คือ ให้นักกีฬาจิบ ดื่มน้ำแมกนีเซียมไว้ตลอดระยะเวลาแข่งขัน ไม่ใช่น้ำเปล่า และไม่ใช่วิธีกินเผื่อ หรือดื่มครั้งละมากๆ เพราะดูดซึม / นำมาใช้ไม่ทัน

แมกนีเซียมเป็นตัวเร่งเอนไซม์ในการสังเคราะห์เลซิทิน ซึ่งช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ไปกวาดล้างไขมันเลว (LDL) พากลับไปที่ตับ จึงเป็นปัจจัยหนึ่ง ในการช่วยปกป้องภาวะแข็งตีบตันของหลอดเลือด ปกป้องโรคลมปัจจุบัน ที่เรียก Stroke หรือ CVA– หลอดเลือดตีบหรือแตกกระทันหัน ซึ่งมักตามด้วยอัมพฤกษ์, อัมพาต หรือ หัวใจวาย

แมกนีเซียม ลดอ้วนโดยทำให้ไขมันในลำไส้เล็กแตกตัวคล้ายฟองสบู่ จากสภาวะด่าง ทำให้การดูดซึมลดลง แล้วถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ ขณะเดียวกับที่ร่วมเสริมสร้างเลซิทิน อันเป็นสารช่วยลดไขมัน

แมกนีเซียมทำงานร่วมกับโครเมียม ลดอาการดื้ออินซูลินของเซลล์ ช่วยให้การลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ดีขึ้น เป็นการบำบัดอาการเบาหวาน สมาคมเบาหวาน แห่งสหรัฐ แนะนำว่าผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดแมกนีเซียมต่ำ ควรได้สารนี้ให้เพียงพออยู่เสมอ

แมกนีเซียมร่วมกับบี6 ผลิตซีโรโทนิน อันเป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนิน ฮอร์โมนที่ช่วยคลายเครียดทำให้หลับสบาย หลอดเลือดยืดหยุ่นขยายตัวดี ก็คือ ไปช่วยลดความดัน บรรเทาการปวดศีรษะต่างๆ ได้

แมกนีเซียมยังมีบทบาทลดความดันโลหิต จากฤทธิ์ช่วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดและหัวใจ

ขณะที่การพร่องแมกนีเซียม ส่งเสริมภาวะกรด ทำให้เกิดการพอก…อุดตัน…ตีบแข็งของหลอดเลือด…ผนังขาดความยืดหยุ่น ผลลัพธ์ คือ ความดันสูง

ภาวะเครียด หดหู่ ซึมเศร้า อ่อนเพลียเรื้อรัง นอกจากเหตุของการขาดน้ำมันปลาแล้ว แมกนีเซียม ก็มีส่วนช่วยได้มาก

การดื่มน้ำอัดลมที่มีสภาวะกรดสูง กรดฟอสฟอริค จะทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมที่มีในลำไส้ ทำให้ตกตะกอนแมกนีเซียม ส่วนที่เหลือก็ไม่ดูดซึม pH2.4 ของกรดยังต้องใช้แมกนีเซียมมาสะเทินให้เป็นกลาง ส่งเสริมสภาวะการขาด แมกนีเซียม ผลคือสมาธิสั้น ยกพวกตีกัน

บทบาทเด่นในฐานะแร่ธาตุต้านความเครียด ยังเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงมีรอบเดือน คือ บรรเทาอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อของหลอดเลือด สมองและเนื้อกล้าม สาเหตุหนึ่งของอาการปวดประจำเดือน

ไมเกรน ก็ได้อานิสงส์จากกลไกนี้ของแมกนีเซียม ด้วยขณะปวดมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อมาก จึงต้องอาศัยแมกนีเซียม ช่วยคลายตัว

โรคหืด ภูมิแพ้ แมกนีเซียมก็มีบทบาทสำคัญต่อการลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม ทำให้คลายตัวได้ดี g ขยายช่องหลอดลม บรรเทาความรุนแรงของหืดหอบ

ฟันผุ พบว่าแมกนีเซียมที่ถดถอย เช่นที่มวลสารของฟัน เมื่อแมกนีเซียมถูกดึงออก แคลเซียมกับฟอสเฟตจับตัวหลวม ส่งผลให้ฟันไม่แข็งแกร่ง เกิดเปราะแตกหักง่าย

ภาวะกระดูกพรุน เปราะ แคลเซียมเกาะ อาจเนื่องจากสัดส่วนแมกนีเซียมต่อแคลเซียม มีน้อยเกินไป (คือมีแคลเซียมสูงไปแมกนีเซียมต่ำไป)

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ในผู้สูงอายุด้วยการให้แมกนีเซียม จะได้ผลกว่าการใช้ยาละลายลิ่มเลือด และปลอดภัยกว่า

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ ก็มีการขาดแมกนีเซียม เป็นปัจจัยร่วม

แมกนีเซียมมีฤทธิ์เป็นด่าง จึงช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากกรดสะสมในร่างกาย เช่น มะเร็ง, ข้ออักเสบ, เก๊าท์, โรคไต, โรคหัวใจ & หลอดเลือด ร่างกายต้องการสภาพ pH เป็นกลาง คือ 7.4 ซึ่งเอื้อต่อการคงสภาพของแมกนีเซียม

การขาดแมกนีเซียม ยังเป็นปัจจัยเสริมความรุนแรงของรูมาตอยด์

แม้กระทั่งความแก่ชรา (Aging) เร็วช้าก็เกี่ยวพันกับภาวะขาดแมกนีเซียมอย่างช่วยไม่ได้ ก็บทบาทกว่า 300 ปฏิกิริยาเคมี ที่ใช้แมกนีเซียมเป็นตัวเร่ง หากไม่มีเสบียงใช้ เซลล์ย่อมตายก่อนอายุขัย

ยังพบโดยบังเอิญว่าแมกนีเซียมช่วยบรรเทาอาการหูตึง และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ได้ดีด้วย

อาหารส่วนใหญ่ ไม่ว่าโปรตีน (กรดอะมิโน) ไขมัน (กรดไขมัน) ล้วนมีสภาวะกรด แม้แต่แป้ง ก็เป็นกรดต่างๆ เช่น กรดแลคติก ดังนั้นน้ำดื่มควรต้องมีสภาวะด่างเท่านั้น จึงจะประคอง pH7.4 ของร่างกายไว้ได้ คนไข้หนักยิ่งต้องการแมกนีเซียมสูงกว่าปกติ ลองสังเกตกลิ่นลมหายใจของผู้ป่วยในห้องวิกฤติ (ICU) จะพบว่าคล้ายกลิ่นกรดน้ำส้มอ่อนๆ

ภาวะที่สูญเสียแมกนีเซียม คือ เมื่อออกกำลังแมกนีเซียมจะออกไปกับเหงื่อ, ภาวะเครียด, การใช้ยาขับปัสสาวะ, ยาปฏิชีวนะ รวมทั้งยาต้านมะเร็ง

อาหารไขมันสูง, มีแคลเซียม, ฟอสเฟตสูง, แอลกอฮอล์ ก็ลดการดูดซึมของแมกนีเซียม ความร้อนจากการปรุงอาหารทำลายแมกนีเซียมที่มีอยู่ไปครึ่งหนึ่ง

ภาวะกรดขับไล่แมกนีเซียม เช่น น้ำโคลา มี pH2.5 การรับประทานอาหารร่วมกับน้ำโคลา กรดฟอสฟอริกในเครื่องดื่มจะเปลี่ยนสภาพแมกนีเซียมในอาหาร เป็นเกลือ แมกนีเซียมฟอสเฟต ตกตะกอนไม่ดูดซึม

น้ำตาลทรายที่ขัดขาว สูญเสียแมกนีเซียมไปถึง 99%

 

สัดส่วนแคลเซียมกับแมกนีเซียม

นมมีสัดส่วนแคลเซียม : แมกนีเซียม สูงมากเกินไป หรือมี แมกนีเซียมน้อยไป จึงส่งเสริมสภาวะแคลเซียมเกาะอวัยวะต่างๆ ได้ หากเสริมแมกนีเซียมจากแหล่งอื่นไม่เพียงพอ

มีการศึกษาเปรียบเทียบในประเทศฟินแลนด์ อิตาลี และญี่ปุ่น ถึงอัตราการได้รับสารแคลเซียมต่อแมกนีเซียม ของผู้คนในแต่ละประเทศแล้ว พบอัตราตายจาก โรคหัวใจ หลอดเลือดรุนแรงต่างกันตั้งแต่ 5 ถึง 15 เท่าตัว

 

ฟินแลนด์

อิตาลี

ญี่ปุ่น

อัตราการกิน  แคลเซียม : แมกนีเซียม

4.5:1

2.2:1

1.2:1

อัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด

15

5

1

ในตารางนี้จะสังเกตได้ว่า ประเทศที่มีอัตราส่วน แคลเซียมสูง หรือ แมกนีเซียมต่ำกว่า จะมีอัตราตายของประชากรมากกว่าหลายเท่าตัว

ดูเหมือนว่ารายงานนี้จะยกความดีความชอบให้แมกนีเซียมแต่ผู้เดียว ทั้งที่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยร่วมของโรคหัวใจหลอดเลือดอีกมากหลาย เช่นระดับโฮโมซีสทีนในเลือด ปริมาณโอเมก้า3 ที่แต่ละคนได้รับ อาหารจำพวก low–high glycemic ในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลฯลฯ ต่อย่างไรก็ตามเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าแมกนีเซียมก็มีบทบาท หรือเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ การเสริมแคลเซียมจึงต้องคำนึงถึงแมกนีเซียมใน อัตราที่ แคลเซียม: แมกนีเซียม ไม่เกิน 2:1

* ความรู้เกี่ยวกับแมกนีเซียม จึงถือเป็นเรื่องใหม่ของชาวบ้าน ส่วนที่วงการยาไม่ฮือฮา เขาว่าน่าจะเป็นเพราะสร้างมูลค่าจากแมกนีเซียมได้ยาก มีการมอบรางวัลโนเบลแก่นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นคว้าวิจัยในความลับของแมกนีเซียมถึง 2 ครั้ง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

เมล็ดทานตะวัน และเมล็ดฟักทองล้วนมีแมกนีเซียมสูง นอกเหนือจากผักใบเขียว ลูกพรุน ถั่วเหลือง กล้วย น้ำแร่ อาหารเสริม, ในเมล็ดทานตะวันมี แมกนีเซียม » 200 มก./ซอง ขนาด 50 กรัม, เมล็ดฟักทองมี แมกนีเซียม » 135 มก./50 กรัม

* ที่ดีกว่านั้น คือ แมกนีเซียมไม่มีอันตราย ยกเว้นเจตนาฆ่าตัวตาย เพราะซองขนาด 350 มก. เทผสมในน้ำสะอาด 1 – 2 ลิตร ใช้ดื่มแทนน้ำดื่มตลอดวัน ดื่มอย่างไรก็อยู่ในเกณฑ์ RDI คือ วันละ 6 มก.ต่อนน.ตัว 1 กก.หากเคี้ยวไม่ไหว อาจต้องเสริมแมกนีเซียม พบว่าแมกนีเซียมที่ละลายในน้ำดื่ม จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่าแมกนีเซียมที่อัดเป็นเม็ด

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่า การกินแมกนีเซียมมากเกิน ดีกว่ากินน้อยไปด้วยซ้ำ

Q : อยากได้แมกนีเซียม เพราะชอบดื่มนมประจำ กลัวเกิดแคลเซียมเกาะ เนื่องจากทราบว่านมมีอัตราส่วนแคลเซียมสูงเกินไป แต่พอใส่แมกนีเซียมลงไปในน้ำนมก็เกิดตะกอนวุ้นๆ ดื่มไม่ได้

A : ห้ามผสมแมกนีเซียมกับนมครับ เพราะจะเกิดการจับตัว (curd) เป็นวุ้น วิธีดื่มแมกนีเซียมที่ถูกต้องคือ ใช้แบบละลายน้ำ เช่น แมกนีเซียมไพโดเลต ผสมน้ำขนาด 1.5 – 2 ลิตร ดื่มแทนน้ำดื่มได้ตลอดวัน ส่วนขนาดที่ใช้นั้นก็คำนวณจากสูตร วันละ 6 มก. ต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว แต่ส่วนใหญ่ คนละ 250 มก.ต่อวันก็น่าจะเพียงพอ มากไปหน่อยก็ไม่อันตราย (หากไตทำงานได้ปกติอยู่)