อาการปวดประจำเดือน หรือปวดท้องเมนส์ (Premenstrual syndrome – PMS) ประกอบด้วยกลุ่มอาการต่างๆ เช่น อารมณ์แปรปรวน อยากร้องไห้ โกรธหงุดหงิดง่าย ตัวบวมน้ำ นอนไม่หลับ เหนื่อยอ่อน อยากอาหาร ปวดศีรษะ หรือไมเกรน เจ็บตึงหน้าอก และอาการซึมเศร้า มักเกิดก่อนรอบเดือน 2 – 7 วัน
PMS จัดอยู่ในกลุ่มอาการที่เรียกว่า Functional somatic syndrome – FSS คืออาการต่างๆ ทางกายที่น่าจะมีผลเกี่ยวเนื่องกัน แต่ไม่พบความผิดปกติจากการตรวจร่างกาย หรือผลทางห้องปฏิบัติการ มักมีผลสัมพันธ์กับ ความผิดปกติทางจิตเวช
กลุ่มอาการ FSS นี้ครอบคลุมถึงโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome CFS),เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Fibromyalgia FM), Multiple chemical sensitivities (MCS), Temporomandibular disorder, Interstitial cystitis และปวดท้องเมนส์ PMS
จัดเป็นโรคที่ไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ แต่หากเรื้อรังน่าจะเกิดจากความเชื่อ ความคาดหวัง ความตึงเครียดทางจิตใจ ไม่ใช่การแกล้งป่วย หรือรู้สึกไปเอง
เมื่อไม่ทราบถึงกลไกการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ จึงไม่มีแนวทางการรักษาที่ชัดเจน
- สาเหตุที่พาดพิงถึง ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส ภูมิคุ้มกัน สารพิษ จิตใจ สารอาหาร ประสาท สมอง ระดับฮอร์โมน เช่น ภาวะพร่อง หรือล้นเกินของฮอร์โมนของต่อมหมวกไต (Hypercortisloism)
- พริก อาหารเผ็ด ทำให้กรดไหลย้อนกำเริบ
FSS ยังอาจแสดงอาการหลังจากมีการติดเชื้อ บาดเจ็บ หลังผ่าตัด การคลอดที่ผิดปกติ ความเครียด (Stresses) ต่างๆ ขาดการออกกำลังกาย กินผิดปกติ
ผลตามจากความเครียด อาจก่อภาวะเจ็บป่วยทางกาย เช่น โรคกระเพาะกำเริบ มาด้วยอาการแน่นเสียดท้องเรื้อรัง
ระบบฮอร์โมนที่สำคัญต่อภูมิต้านทาน คือ hypothalamic pituitary adrenocortical (HPA) axis มีสมมุติฐานว่าฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เป็นจุดเริ่มต้นของภาวะเครียดที่มีต่อระบบภูมิคุ้มกัน มีผลกดภูมิต้านทาน ฮอร์โมนจะถูกหลั่งมากขึ้นในภาวะเครียด หากภาวะนี้ไม่ถูกแก้ไข ร่างกายจะตกอยู่ในภาวะเครียดเรื้อรัง มีผลให้ภูมิต้านทานลดน้อยลงได้
พบว่ามีเส้นทางเชื่อมโยง limbic system และสมองส่วนบน กับส่วนใต้สมอง (hypothalamus) แสดงว่า hypothalamus อาจเป็นตัวกลางระหว่างภาวะจิตใจ กับภูมิต้านทาน แต่ก็ยังไม่ยืนยันความเชื่อมโยงได้ชัดเจน
ความเครียดยังอาจเกิดจากการลดระดับของเซโรโทนินในสมอง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความหิว และความรู้สึกเป็นสุข
โกร์ทฮอร์โมน ก็มีการตอบสนองต่อสภาวะเครียดกดดันเช่นกัน แต่ว่ามีฤทธิ์เพิ่มการทำงานของภูมิต้านทาน (โกร์ทฮอร์โมนผลิตโดยต่อมใต้สมอง)
แนวทางรักษาทั่วไป
ทางแพทย์มักเป็นการให้ยาแก้ซึมเศร้า ยาต้านไวรัส กดภูมิคุ้มกัน ยาแก้ปวด ยานอนหลับ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นั่งสมาธิ ประคบน้ำแข็ง ออกกำลังกาย และรักษาทางจิตเวช
สันนิษฐานว่าสตรีเอเชียที่ไม่เดือดร้อนกับ PMS เนื่องจากวัฒนธรรมบริโภคถั่วเหลือง ด้วยไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองจัดเป็นฮอร์โมนพืชไฟโตเอสโตรเจนที่ช่วยปรับอารมณ์อันขึ้นๆ ลงๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งปกติฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงขึ้นในช่วงก่อนมีเมนส์
กรดไขมันโอเมก้า3 เป็นตัวเพิ่มอัตราการผลิตฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านการอักเสบ แก้ปวด โอเมก้า3 ยังลดอาการซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการหนึ่งที่พบบ่อยใน PMS (มังสวิรัติให้ใช้น้ำมันปอ 1 ช้อนโต๊ะแทน)
ในการวิจัยเพื่อหาผลกระทบของวิตามิน ต่อความบกพร่องที่มีมาแต่กำเนิด พบว่าผู้หญิงที่กินวิตามินหลายชนิดเป็นประจำ มีรอบเดือนปกติกว่าพวกที่ได้รับยาหลอก
- ส่วนอาหารที่ควรเลี่ยง ได้แก่ กาแฟ, โซเดียม
- มีการวิจัยพบว่า การงดบริโภคเนื้อสัตว์ สามารถช่วยลดอาการ PMS ได้ กล่าวคือลดอาการปวด บวมน้ำ ระดับคอเลสเตอรอล ผลพลอยได้คือ น้ำหนักลดด้วย โดยเมื่อหันกลับมาบริโภคเนื้อสัตว์ตามปกติ อาการ PMS ก็กลับมา พร้อมน้ำหนักเพิ่ม
- อาหารไขมัน ก็ทำให้ระดับเอสโตรเจนเปลี่ยนแปลง…เพิ่มขึ้น
- การประคบท้องด้วยกระเป๋าน้ำร้อน ก็ช่วยผ่อนคลายมดลูก บรรเทาอาการปวดท้องเมนส์ได้
- การออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารสุขธรรมชาติ เอนดอร์ฟิน (Endorphin) ก็ลดอาการปวดได้
- แนวทางสุขภาพพื้นฐานควรพบแพทย์เมื่อใด : หากปวดท้องเมนส์มากและนานกว่า 3 วัน หรือเกิดอาการระหว่างมีเมนส์ / มีเลือดออกมาก ขนาดที่ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง / การปวดรุนแรงตั้งแต่ครั้งแรกของการมีเมนส์ / ปวดรุนแรงในช่วงกินยาคุมกำเนิด / มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน หรือหลังวัยหมดประจำเดือน หรือรอบเดือนเกินกว่า 45 วัน
อวัยวะที่ซ่อมได้ชัดเจนอันดับแรกคือ สมอง ต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไต ไพเนียล ไทมัส และรังไข่
ต่อต้านภาวะกดดันจากความเครียด ด้วยอาหารคือ สารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ โอพีซี โคคิวเทน เป็นต้น
ลดภาวะกรดโดยเลี่ยงน้ำตาล เนื้อ ไขมัน เพิ่มผักผลไม้(หวานน้อย ปลอดสารพิษ) และแมกนีเซียม อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนสูง จะไปเพิ่มปริมาณการผลิตสารเซโรโทนิน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมักจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่แน่นอนในช่วงก่อนมีเมนส์ พบว่าช่วงก่อนมีเมนส์ มักมีระดับแมกนีเซียมต่ำ ส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ บางคนจิบดื่มน้ำแมกนีเซียมเป็นประจำ ภาวะปวดท้องเมนส์ก็หายไป
วิตามินบี6 สามารถช่วยกระตุ้นการผลิตเซโรโทนิน ลดความตึงเครียด และซึมเศร้า บี6 ยังช่วยเพิ่มปริมาณการสะสมแมกนีเซียมในเซลล์ต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย
สรุปแนวช่วยตนเองแก้ปัญหาปวดท้องเมนส์
- จิบดื่มน้ำแมกนีเซียมประจำวัน
- ดื่มนมถั่วเหลือง เช้า + ก่อนนอน
- น้ำมันปลา โคลีน วิตามินบี โอพีซี และโคคิวเทน อย่างละ 1x3
- หากไม่ทุเลา ควรเพิ่ม เซลล์สมอง + ต่อมใต้สมอง + ไพเนียล + ต่อมหมวกไต+รังไข่ อย่างละ 1x2x10 ร่วมกับอวัยวะรวม 1x1x10 วัน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนก่อน 4 ทุ่ม ฝึกสมาธิคลายเครียด
งดใช้ต่อมใต้สมองในผู้ป่วยลมชัก