ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

โรคหัวใจและหลอดเลือด

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เป็นหนึ่งในสามของสาเหตุการตายสูงสุด

อาการ

อาจไม่มีสัญญาณเตือนเลยก็ได้ บางทีรู้สึกแน่นหน้าอก คล้ายมีอะไรทับ รู้สึกหายใจติดขัด รู้สึกเจ็บแปล๊บที่ลิ้นปี่ ร้าวไปกรามทั้งสองข้าง ลงไปที่แขนหรือมือ …ถ้าเป็นน้อยๆ จะพบอาการเหล่านี้ตอนออกกำลังกาย

สาเหตุ

  1. คอเลสเตอรอล LDL สูง ในภาวะขาดสารต้านอนุมูลอิสระ
  2. โฮโมซีสทีนสูง ในภาวะขาดโคลีน โฟลิค วิตามินบี
  3. ภาวะอินซูลินสูงเรื้อรัง ที่เรียก ซินโดรมเอกซ์
  4. ผลของโรคอ้วน เบาหวาน
  5. ขาดน้ำมันปลา ขาดแมกนีเซียม
  6. มี oxidative stress สะสม เช่น บุหรี่ มลพิษ เครียด
  7. ขาดการออกกำลังกายที่พอเหมาะ

ผล 

ส่งผลต่อหลอดเลือด เกิดความดันสูง หัวใจล้มเหลว หรือรุนแรงคือหยุดเต้น เพราะขาดเลือด อาจขาดชั่วคราวทำให้เป็นลม ล้มกระแทก หลอดเลือดแตก ตามมาด้วยอัมพาต อัมพฤกษ์ หากเป็นกับหลอดเลือดสมองเรื้อรัง ก็ส่งผลให้เป็นโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์หรือพาร์กินสัน

กลไกการเกิด

  1. สาเหตุที่กลัวและกล่าวขวัญอยู่เสมอคือ คอเลสเตอรอลสูง กล่าวคือ LDL สูง โดยเฉพาะในภาวะที่ขาดสารต้านอนุมูลอิสระ…ปกติ LDL เป็นไขมันที่มีประโยชน์ใช้สร้างเซลล์ผนังภายในหลอดเลือด แต่เมื่อไรที่ถูก  oxidative stress  จะแปรสภาพเป็นพิษ  ทำให้เม็ดเลือดขาวแมคโครเฟ็จ  เข้ามาจับกินทำลายพิษซึ่งหากเกิดมากๆ แมคโครเฟ็จต้องกลืนกินเข้าไปจนเต็มทำให้เกิดภาวะแน่นิ่ง เคลื่อนไหวต่อมิได้ ตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า foam cell เป็นพลักเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ก่อปฏิกิริยาอักเสบ หนา แข็ง อุดตัน ในขณะที่ผนังหลอดเลือดก็ตีบ รอวันระเบิด แตก อุดตันมากขึ้น การปกป้องภาวะนี้ ร่างกายจึงต้องมีสารต้านอนุมูลอิสระ คอยจับสิ่งที่จะมาแปรสภาพ LDL นอกเหนือจากเลี่ยงภาวะ ที่ทำให้ LDL สูง เช่น บุหรี่ มลพิษ ความเครียด และไขมันสัตว์ สารต้านอนุมูลอิสระที่ดีในกรณีนี้ นอกจากวิตามินบีในผักผลไม้แล้ว โอพีซี และกลูต้าไทโอนน่าจะมีบทบาทสูง
  2. ภาวะโฮโมซีสทีนสูง  วายร้ายตัวจริงชื่อ “โฮโมซีสทีน” ที่มาของข้อมูลนี้ เริ่มจากการผ่าพิสูจน์เด็กอายุ 7 – 8 ขวบ ที่เสียชีวิตด้วยโรค “Homocysteinuria” (เป็นโรคที่พบโฮโมซีสทีนในปัสสาวะเรื้อรัง เนื่องจากมีระดับโฮโมซีสทีนในกระแสเลือดสูง จากพันธุกรรมบกพร่อง ในการเปลี่ยนเมธิโอนีนเป็นโฮโมซีสทีน อย่างไม่หยุดยั้ง) พบว่าสาเหตุการตาย คือ หลอดเลือดอักเสบ แข็ง หรือลิ่มเลือดจับเป็นก้อนอุดตัน ทั้งในหลอดเลือดดำ (Venous Thrombosis) และหลอดเลือดแดง จึงเป็นที่มาแห่งข้อหาว่า พยาธิสภาพของหลอดเลือด มาจากพิษของโฮโมซีสทีน (หาใช่คอเลสเตอรอลไม่ !) โฮโมซีสทีนเป็นตัวกระตุ้น ให้หลอดเลือดอักเสบ เลือดจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย ผนังหลอดเลือดแปรสภาพ ตีบ แข็ง มีการอุดตัน  ความดันก็ขึ้นสูง เพราะหลอดเลือดขยายตัวไม่ดี หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นๆ โดยปกติ ค่าโฮโมซีสทีนในกระแสเลือด ไม่ควรเกิน 5 ไมโครโมลต่อลิตร หากมีถึง 7 แปลว่า เริ่มเข้าภาวะเสี่ยง หากพบถึง 12 ไมโครโมลต่อลิตร บ่งว่าแย่แน่ๆ ต่อการจะเกิดหลอดเลือดอักเสบ แข็ง อุดตัน…ผลลัพธ์ คือ ความดันสูง หัวใจโต เหนื่อย ขาดเลือด…หัวใจวาย…ตาย…ชัวร์ ! ในภาวะปกติ ร่างกายจะแปลงโฮโมซีสทีน ไปเป็นซีสทีน (Cysteine) กับเมธิโอนีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ด้วยกระบวนการ “Methylation” จากสารที่ให้ CH3 (Methyl group) หรือเป็น “Methyl donor”

    แล้วจะขจัดเจ้าโฮโมซีสทีนได้อย่างไร ?

    หนทางที่ดูเหมือนง่ายแต่ทำยาก คือ ลดการบริโภค เนื้อ นม ไข่  ชีส  อาหารดัดแปลงให้น้อยลง แต่หากมีโฮโมซีสทีนสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง ขาดการออกกำลังกาย เริ่มเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ความดันขึ้น…คงสายเกินการจำกัดอาหารประการเดียว

    หนทาง คือหาผู้ที่ให้สารกลุ่มเมทิล (Methyl donor) มาแปลงโฮโมซีสทีน  ให้กลับไปเป็นซีสทีน กับเมธิโอนีน ซึ่งมักใช้ Trimethylglycine – TMG, Dimethylglycine – DMG หรือ Tetramethylglycine (โคลีน) แต่ก็อย่าลืมว่า   กระบวนการเมทิลเลชั่น (การให้เมทิล กรุ๊ป) จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยา คือกรดโฟลิค (โฟเลท) บี6 และบี12 มาทำงานเป็นทีม…เครื่องจึงจะเดินคล่อง

    เขาพบว่า ระดับของโฟเลท + บี6 และบี12 แปรผกผันกับระดับโฮโมซีสทีน !

    ที่แน่ๆ คือ โคลีน ช่วยเพิ่มระดับ HDL (ไขมันดี) ลด LDL (ไขมันเลว) คอเลสเตอรอลรวมและไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride–TG) อันเป็นตัวร้ายต่อหลอดเลือดอีกทางหนึ่ง

    โคลีนร่วมกับบีรวม จึงเป็นมือปราบหลอดเลือดแข็งตีบตันตัวยง !

    นอกเหนือจากการใช้  โคลีนร่วมกับโฟเลท วิตามินบีแล้ว น้ำมันปลา แมกนีเซียม รวมไปถึงโอพีซี (สารสกัดจากเมล็ดองุ่น) ก็ใช้ร่วมแรงแข็งขันในการปราบโรคหัวใจหลอดเลือดได้ดีทีเดียว

  3. ซินโดรมเอกซ์ หรือว่าที่เบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล เข้าไปเกินใช้ กล่าวคือ กินมากออกกำลังกายน้อย อินซูลินที่ขึ้นสูง เพื่อพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ แต่เข้าไม่ได้ จึงต้องพาตระเวนล่องลอยในกระแสเลือด ในขณะที่อินซูลินเป็นตัวก่ออักเสบแก่ผนังหลอดเลือด น้ำตาลที่สูงยังลดประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาว ทำให้เป็นโรคติดเชื้อง่าย

    หนทางที่ดีสุดคือ เลือกอาหารและออกกำลังกาย เช่น งดไขมันสัตว์ ไขมันทรานส์ เพิ่มน้ำมันปลา สังกะสี แมกนีเซียม และโอพีซี

  4. หากปล่อยปละละเลยกับภาวะซินโดรมเอกซ์ จนเข้าสู่โรคอ้วน หรือรุนแรงไปถึงระดับเบาหวาน แสดงว่าร่างกายสูญเสียดุลแห่งการช่วยตนเองไปมากแล้ว อาการต่อไปที่จะตามมาคือ ความดันเลือดสูง สมองเสื่อม โรคไต หรืออุบัติเหตุจากหลอดเลือด ตีบตัน แตก  สู่ภาวะหัวใจวาย หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ตลอดจนเชื้อเชิญโรคมะเร็ง…

แม้ถึงขั้นนี้ ความเข้าใจในพื้นฐานเรื่องอาหาร และออกกำลัง ก็ยังมีส่วนช่วยให้ทุเลาได้กว่า 60% สารอาหารที่ไม่ควรขาดคือ โอพีซี และที่เกี่ยวข้องกับ Cellular burn ทั้งหลาย ตั้งแต่โครเมียม แมกนีเซียม สังกะสี แมงกานีส รวมถึงวิตามินบีรวม น้ำมันปลา

ตลอดจนเลี่ยงภาวะ oxidative stress จากบุหรี่ สารพิษในอาหาร น้ำดื่ม หรือความเครียด

คุณภาพของน้ำบริโภค น่าจะมีส่วนช่วยให้ทุเลาหรือผ่อนหนักเป็นเบา ได้แก่ น้ำที่มีสภาวะด่าง มีแร่ธาตุผสม ขนาดโมเลกุลเล็ก แรงตึงผิวต่ำ และโออาร์พีลบ

น้ำ ORPลบ หรือน้ำพลังแม่เหล็ก มาเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ ในภาวะหลอดเลือดแข็งตีบตันนั้น หากถูกซ้ำเติมจากมลพิษ Oxidative stress ก็ยิ่งทำให้พลักหรืออุดตันที่ผนังหลอดเลือดกำเริบ การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่คล่องตัวล่องลอยไปในกระแสเลือดจึงพร้อมต่อต้าน Oxidative stress ได้ดี

น้ำที่มีกลุ่มโมเลกุลเล็กจะนำ อาหาร และ ออกซิเจน ได้ดี มีสภาวะด่าง ลื่นไหลได้ดี เลือดที่มีย่อมไหลเวียนคล่อง อีกทั้งไม่กระทบภาวะการจับตัวของเกล็ดเลือดเหมือนยากลุ่มละลายลิ่มเลือด หรือป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด นำ ออกซิเจน สู่สมองได้ดี เพิ่ม ออกซิเจน แก่เนื้อเยื่อ อีกทั้งนำ และดูดซึมยาได้ดี ยาออกฤทธิ์เต็มประสิทธิภาพ

 

การป้องกัน

โรคของหลอดเลือดหรือหัวใจนั้น เมื่อเป็นแล้ว มักหายยากหรือใช้เวลารักษายาวนาน เพราะพยาธิสภาพสั่งสมเกิดขึ้นมาอย่างช้าๆ

ยาที่ใช้รักษาก็มักเป็นกลุ่ม “ดี3” คือ มีทั้งสรรพคุณและพิษในขณะเดียวกัน แล้วยังจำเป็นต้องใช้เป็นเวลาต่อเนื่อง

การป้องกันจึงเป็นสิ่งที่พึงให้ความสำคัญ อันที่จริงก็เป็นสิ่งที่ทำได้ พิจารณาได้จากสาเหตุทั้งหลายของโรค ก็เพียงละเว้นหลีกลด ปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย เช่น แก้ไขสภาวะอ้วน เพื่อมิให้เกิดเบาหวาน ซึ่งมักตามมาด้วยโรคไต ความดันสูง หลอดเลือดตีบ

จะลดอ้วนได้อย่างไรก็ต้องลดแป้ง น้ำตาล อาหารพิษ ตามสูตร Slender faster

จะเลี่ยงภาวะโฮโมซีสทีนสูง ได้อย่างไร ง่ายๆ ก็จำกัดอาหารโปรตีน อย่าให้มากเกินไป ซึ่งก็คือ ประเภทเนื้อทั้งหลาย มิใช่เพียงเนื้อวัว แต่รวมถึง เนื้อหมู เนื้อไก่ ที่พอไหว คือเนื้อปลา พร้อมกับเพิ่มโคลีน โฟลิค วิตามินบี12 ซึ่งก็คือ กลุ่มวิตามินบีทั้งหลายนั่นเอง

จะลดคอเลสเตอรอลได้อย่างไร ก็งดไขมันสัตว์ ของทอด ปิ้ง ย่าง ผ่านความร้อนสูง ไขมันทรานส์…แต่จะทำได้อย่างไร แค่ไหน ในเมื่อเราต้องกินอาหารอีกทั้งอาจไม่ได้ปรุงเอง…ประการนี้คงต้องลดความรุนแรงในพิษภัยด้วย สารต้านอนุมูลอิสระที่มากพอ

อาจถามว่า แล้วสารต้านอนุมูลอิสระใดเป็นตัวเลือก…ที่จริงสารพืชที่หลากหลายในผักผลไม้หลากสี คือ คำตอบ แต่ข้อขัดข้อง คือ หาผักปลอดสารพิษได้ยาก หากมีก็ราคาสูง หนทางลัดก็น่าจะเป็นสารเสริม สารเสริมที่โดดเด่นก็คือ โอพีซี  โคคิวเทน  กลูต้าไทโอน กรดไลโปอิค วิตามินซี เป็นต้น

สิ่งที่ทำง่ายๆ แต่ถูกผลักไสจากบางคนอย่างน่าเสียดาย คือ สารอาหารกลุ่มน้ำมันปลา และแมกนีเซียม

น้ำมันปลานั้นมีบทพิสูจน์ถึงบทบาทสรรพคุณที่หลากหลาย ไม่ว่าเป็นส่วนประกอบคุณภาพของผนังเซลล์ ผนังไมโตคอนเดรีย เป็นแหล่งสารต้านอักเสบ ต้านซึมเศร้า ขัดขวางขบวนการก่อมะเร็ง ภูมิเพี้ยนทั้งหลาย

แมกนีเซียมนั้น บทบาทการสร้างสภาวะด่าง ทำให้โมเลกุลของน้ำจับกลุ่มเล็กลง เพิ่มออกซิเจน เป็นโคแฟคเตอร์ในไมโตคอนเดรีย ช่วยลดความดัน ลดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั้งหลาย ลดปัจจัยเสี่ยงจากหืด หอบ ไมเกรน ปวดท้องเมนส์

เท่านี้ก็คุ้มกับการที่จะไม่ปล่อยให้ขาดแคลนสารอาหารสำคัญนี้

ยังมีหัวข้อที่ทำง่าย แต่ถูกละเลย เช่น การออกกำลังกายขนาดที่พอเหมาะต่อเนื่องครั้งละกว่า 15 นาที อย่างน้อย วันเว้นวัน หลักการออกกำลังกายที่พอเหมาะ คือ 60% MHR

การเลี่ยงมลพิษจากบุหรี่ ควันไฟ ฝุ่นควัน มลพิษทั้งหลาย ตลอดจน DDT สารถนอมรักษาอาหาร ไม่ว่า ผักผลไม้ เนื้อสัตว์ทั้งหลาย

การฝึกสมาธิ ช่วยคลายเครียด ช่วยให้นอนหลับสบาย เหนืออื่นใด หลักวิธียึด คือ ความสุขในปัจจุบันขณะ

การทำบอลลูน ขยายหลอดเลือดเฉพาะจุด หรือทำบายพาส (by pass – หลอดเลือดทดแทน) เป็นการแก้ปัญหาคือซ่อมเฉพาะหน้ายามวิกฤติ ซึ่งมิได้ป้องกันการเกิดตีบตัน ซ้ำที่เดิมหรือจุดใหม่  การบำรุงและป้องกันด้วยการล้าง หรือสร้างหลอดเลือดที่ชำรุด ให้ฟื้นคืนสภาพ จึงเป็นหลักการรักษาที่ตรงประเด็น

สิ่งที่ช่วยบำรุงป้องกัน นอกจากน้ำมันปลา โคลีนบี และอาหารทั้งหลายแล้ว การแพทย์ชีวโมเลกุลที่ใช้หลักเซลล์ซ่อมเซลล์น่าจะเป็นพื้นฐานที่มีสาระประโยชน์สูง เช่น ให้เซลล์ของหัวใจหลอดเลือดไปซ่อมแซมหัวใจ เซลล์ม้ามช่วยซ่อมม้ามให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เซลล์สมองและต่อมไพเนียล ช่วยฟื้นเซลล์สมอง ให้หลั่งสารแห่งความสุข นอนหลับได้ เซลล์ต่อมหมวกไต ซ่อมหมวกไตให้ต่อสู้ภาวะเครียด ฯลฯ

หลักการป้องกันรักษา โรคของหัวใจ หรือหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ สมอง อวัยวะสำคัญทั้งหลาย จึงต้องให้ความสำคัญกับ “การแพทย์บูรณาการ” มิใช่ยา หรือเลือกทางใดทางหนึ่งเป็นการเฉพาะ

 

* สรุปแนวทางช่วยตนเอง ตามหลักการแพทย์ผสมผสาน

  1. น้ำมันปลา, โคคิวเทน 30 มก., โอพีซี และโคลีนบี อย่างละ 1x3
  2. น้ำแมกนีเซียม จิบดื่มแทนน้ำดื่มตลอดวัน
  3. เซลล์สมอง, ไพเนียล, หมวกไต, หัวใจ, ม้าม อย่างละ 1x2
  4. เซลล์อวัยวะรวม 1x1
  5. ทานผักผลไม้ (หวานน้อย และปลอดสารพิษ) พร้อมออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิคลายเครียด