โรคกรดไหลย้อน หรือร้อนหน้าอก (Heart burn หรือ Gastro esophageal reflux) คือภาวะที่น้ำย่อยกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร มักมีอาการ จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ ร้อนขึ้นมาในอก บางครั้งขึ้นมาถึงคอ เปรี้ยวในคอ (เรอเปรี้ยว) มักเกิดเวลาอิ่มมากกว่าท้องว่าง อาจทำให้กล่องเสียงอักเสบ ไอ เสียงแหบได้
สาเหตุ
หูรูดปลายหลอดอาหารหย่อนยาน และ / หรือมีกรดในกระเพาะมาก กินมากเกิน อาหารย่อยยาก สูบบุหรี่จัด ดื่มกาแฟมาก แอลกอฮอล์มาก กินยาที่กัดกระเพาะ เช่น แอสไพริน ยาแก้ปวด อ้วนลงพุง ท้องผูก ท่านั่งตัวงอหรือนอนราบหลังอาหาร หรือเครียด อาการอันตรายที่สมควรพบแพทย์คือ จุกแน่นหน้าอกด้านซ้าย เหงื่อแตกจะเป็นลม ปวดยอดอกหรือลิ้นปี่ ทั้งเวลาหิวและอิ่ม ปวดลิ้นปี่ร้าวไปหลัง ปวดมวนในท้อง อาการไม่ทุเลาใน 2 สัปดาห์
พยาธิสภาพ / โรคแทรกซ้อน
- หลอดอาหารอักเสบ จากกรดไหลย้อน มักเป็นส่วนปลายของหลอดอาหาร
- หลอดอาหารตีบ จากอักเสบเรื้อรัง ลุกลามไปถึงชั้นใต้เยื่อบุผิวและชั้นกล้ามเนื้อ เกิดพังผืดจากกระบวนการซ่อมแซมแผล ทำให้กลืนของแข็งลำบาก
- เยื่อบุผิวเปลี่ยนแปลง จากชนิด Squamous cell เป็น Columnar มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร ชนิด Adenocarcinoma มากขึ้น
- มะเร็งของหลอดอาหารส่วนล่าง จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงสุด โดยเฉพาะผู้ป่วยในข้อ 3
การดูแลสุขภาพของตนเอง
ด้วยความเข้าใจในหลักสุขภาพพื้นฐาน สามารถทำได้ง่ายๆ เช่น อย่ากินอิ่มจนแน่นท้อง ลดน้ำหนักตัว ไม่ให้อ้วน ด้วยเป็นการเพิ่มแรงกดบริเวณกระเพาะการรักษา แผนปัจจุบัน มักให้ยาแก้อาเจียน ยาช่วยย่อย ยาธาตุน้ำแดง
การทานสับปะรด หรือน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ พร้อมหรือหลังอาหารทันที เป็นการเพิ่มน้ำย่อย ให้กระเพาะย่อยได้เร็วขึ้น
ควรดื่มน้ำขิง น้ำตะไคร้ หรือน้ำมะตูม หลังอาหาร และเพิ่มอาหารเส้นใย (Fiber) ควรเดินเล่นหลังอาหาร
การทานยาหอมก่อนอาหาร 15 – 30 นาที หรือหลังอาหาร 2 ชม.ช่วยขับลม เพิ่มการไหลเวียนเลือด ช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น
ถ้าการนอนราบภายใน 2 ชั่วโมง หลังอาหารทำให้กรดไหลย้อนมากขึ้น ลองเปลี่ยนเป็นนอนตะแคงเอาข้างซ้ายลง หรือหนุนศีรษะสูงขึ้น กายวิภาคของกระเพาะที่อยู่ทางซ้าย อาจช่วยลดการท้นของน้ำย่อยขึ้นมาบ้าง หากอาการหนักคงต้องลุกยืนหรือนั่งตัวตรง ในกรณีนี้อาจต้องนอนหลังมื้ออาหารไปสัก 3 ชม.
ลดอาหารไขมัน หมักดอง ชา กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ บุหรี่
อาหารแป้ง ของหวาน นม เนื้อสัตว์ ล้วนย่อยยาก ก่อสภาวะกรดเพิ่ม จึงควรลดหรืองด ตลอดจนนมถั่วเหลืองแช่เย็น โดยเพิ่มผักผลไม้แทน
ช็อคโกแลต ทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัว พบว่าเมื่อช็อคโกแลต สัมผัสลำไส้เล็กส่วนต้นสามารถกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนได้มากขึ้น
พริก อาหารเผ็ด ทำให้กรดไหลย้อนกำเริบ
ยาลดกรด (อลัม มิลค์) เป็นตัวทำลายน้ำย่อย อย่าใช้โดยไม่จำเป็น
บุหรี่ ลดแรงบีบตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เกิดกรดไหลย้อน และค้างในหลอดอาหารนานขึ้น จากการที่มีน้ำลายน้อยลง
แอลกอฮอล์ ลดการบีบตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง การบีบตัวของหลอดอาหารและกระเพาะ ช้าลง และหลั่งกรดในกระเพาะมากขึ้น ในสัตว์ทดลองยังพบว่า แอลกอฮอล์ทำให้เยื่อบุของหลอดอาหารถูกกรดทำลาย ได้ง่ายขึ้น
กลิ่นก็เป็นปัจจัยกระทบระบบย่อยอาหารได้ เช่นกลิ่นเหม็นชวนอาเจียน ส่วนกลิ่นหอมก็ให้ผลตรงข้าม การบำบัดด้วยกลิ่นหอม (Aromatherapy) ก็มีประโยชน์ เช่น ใช้กลิ่นสกัดจากน้ำมันมะกรูด เป็บเปอร์มินท์ ผสมน้ำมันนวด นวดหน้าท้อง (ใช้เฉพาะภายนอก)
รสขม ก็เป็นสารช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำย่อย จึงควรเพิ่มอาหารรสขม เช่น สะเดา มะระ มะแว้ง
ผู้ที่ขาดน้ำย่อยแลคเตส ที่ช่วยการย่อยน้ำตาลแลคโตส (น้ำตาลที่มีในน้ำนม) แม้การหลีกเลี่ยงอาหารนม จะพอลดอาการปวดท้อง การเกิดแก๊ส ตลอดจนท้องเสียได้ แต่บางผลิตภัณฑ์ก็ยังพอทานได้ เช่น โยเกิร์ต ไอศกรีม และเนยแข็ง โปรไบโอติกจากแบคทีเรียที่ดี เป็นตัวช่วยยับยั้งการขยายพันธุ์ของแบคทีเรียพิษทั้งหลาย
การย่อยไขมันจำเป็นต้องอาศัยน้ำย่อย หรือเอนไซม์ไลเปส (Lipase enzyme) อันผลิตโดยตับอ่อน ดังนั้นหากมีเหตุขัดขวาง หรือตับอ่อนไม่สร้างเอนไซม์นี้ ก็เกิดปัญหาได้ ปัญหาตับอ่อนเสื่อมสภาพนี้ มักพบมากขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น
ตับอ่อนยังผลิตเอนไซม์ช่วยย่อยทั้งหลายไม่ว่าโปรทีนเอส หรือโปรทีโอไลติคเอนไซม์ สำหรับย่อยโปรตีน เนื้อสัตว์ต่างๆ อะไมเลส ช่วยย่อยแป้ง น้ำตาล กลุ่มคาร์โบไฮเดรต ยาที่แพทย์จ่ายจึงเป็นกลุ่มยาช่วยย่อยประการหนึ่ง ไส้
* สรุป แนวสุขภาพพื้นฐานสู่การพึ่งตนเอง
หากมีอาการคันตามตัว อาจเกิดจากพิษอาหารตกค้าง บูดเน่าในลำไส้ แนะนำให้เพิ่มผักผลไม้ (หวานน้อย) มื้อละมากๆ เพื่อช่วยในปริมาณและคุณภาพของการขับถ่าย หากไม่ได้ผลอาจต้องถึงซึ่งวาระ “สวนกาแฟ”
- หลีกเลี่ยงภาวะ หรืออาหารก่อโรคที่กล่าวแล้ว
- เพิ่มกลิ่น + รส อาหารช่วยย่อย อาหารกากใย