ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

โอพีซี

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

โอพีซีเป็นสารที่พบได้ในผักผลไม้เปลือกแข็ง เมล็ด, ดอกและเปลือก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ทั้งยังมีรายงานถึงฤทธิ์เป็นปฏิชีวนะ ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง ต้านอักเสบ ต้านภูมิแพ้ ขยายหลอดเลือด รวมทั้ง ต้านไขมันหืน (inhibit lipid peroxidation) ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ลดการซึมผ่านผนังหลอดเลือด และลดความเปราะบางของหลอดเลือด มีผลกับระบบน้ำย่อย

ทำให้โอพีซี มีประโยชน์หลากหลาย (Altern Med Rev = 2000)

ประวัติความเป็นมา

ในปี คศ. 1534 นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ล่องเรือในแม่น้ำเซนต์ลอเลนซ์ ในสภาพที่เป็นน้ำแข็ง ทำให้ต้องดำรงชีพด้วยเกลือ เนื้อสัตว์ และขนมปัง มีอาการเลือดออกไรฟันคล้ายscurvy (โรคลักปิดลักเปิด) แล้วได้รับคำแนะนำจากชาวพื้นเมืองให้รอดชีวิตด้วยน้ำต้มจากเปลือกสน ซึ่งเข้าใจในเบื้องต้นว่าเป็นวิตามินซี (เนื่องจาก flavonoid 3 มีฤทธิ์คล้ายวิตามินซี) จึงเรียกสารนี้ว่า pycnogenols แต่ไม่เป็นที่นิยม คงตกค้างเป็นชื่อการค้าของ โอพีซี ที่สกัดจากเปลือกสนฝรั่งเศส

ศจ.Masguelier เป็นผู้ค้นคว้า + ยืนยันถึงโครงสร้าง บทบาท และความปลอดภัย (Lack of toxicity)

คศ.1951 เริ่มมีการสกัดโอพีซี จากเปลือกสน

คศ.1970 เริ่มมีการสกัดโอพีซี จากเมล็ดองุ่น (grape seeds)

ปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อ Oligomeric Proanthocyanidin Complexes (OPC) หรือ Procyanidolic Oligomers (PCOs)

โดยโอพีซีจากเมล็ดองุ่นได้รับความนิยมมากกว่าโอพีซีสกัดจากเปลือกสนถึง 400 เท่า ทั้งราคาก็ถูกกว่าอีกด้วย

ยังมีเรื่องราวของ Lorenzo’s oil ที่นำมาสร้างเป็นบทภาพยนตร์ภายหลัง

ปี 1996 เด็กชายคนหนึ่งชื่อ Lorenzo ป่วยด้วยโรคทางสมอง ที่เรียก Leukoencephalopathy มีอาการแขนขาอ่อนแรง มือเท้าเย็นจากภาวะขาดการไหลเวียนเลือด ซึ่งแพทย์รับรองว่า…ไม่หาย…

แต่คุณพ่อซึ่งมิใช่แพทย์พยายามดิ้นรนขวนขวาย จนในที่สุด สิ่งที่ช่วยได้ คือ น้ำมันจากเมล็ดองุ่น

การค้นพบนี้เป็นอานิสงส์แก่ผู้ป่วยโรคเดียวกันซึ่งก็ได้ผลดี จนหยุดการใช้มอร์ฟีนและลดยารักษาอาการเฉพาะได้

ล่าสุดไม่ถึง 10 ปีนี้เอง ที่นพ.เรย์ แสตรนด์ แพทย์แผนปัจจุบัน ประทับใจในอาหารเสริม ที่ช่วยรักษาภรรยาที่ป่วยด้วยโรคเนื้อเยื่อแข็ง หรือปวดกล้ามเนื้อและเส้นใยเรื้อรัง (Fibromyalgia) รักษามายืดเยื้อในแนวปัจจุบันได้เพียงประทังชีวิต โดยอาการเจ็บปวดและอ่อนเพลีย รุนแรงเพิ่มขึ้น บางครั้งมีภูมิแพ้ ไซนัสกำเริบ ตลอดจนติดเชื้อในปอด

โรคดังกล่าวเป็นโรคที่แพทย์สมัยใหม่เชื่อว่า เป็นเรื่องของจิต ความรู้สึกนึกคิดไปเอง หรือเกี่ยวกับซึมเศร้า

จนกระทั่งมีเพื่อนบ้าน แบ่งปันประสบการณ์อาหารเสริม ซึ่งเฟื่องฟูในอเมริกามากว่า 30 ปี

นพ.แสตรนด์ จากที่เคยปฏิเสธหรือบอกกับคนไข้ที่เคยมาปรึกษาอยู่เสมอว่า “ไม่มีประโยชน์” ก็ได้ทดลองใช้ด้วย

เหตุผลคือ…ก็คงไม่มีอะไรจะเสียไปมากกว่านี้

แล้วปาฏิหาริย์ต่อนพ.แสตรนด์ก็เกิด เพียง 3 สัปดาห์ อาการป่วยของภรรยาดีขึ้นมาก จนหยุดยาสเตอรอยด์ที่ใช้กดอาการชั่วครู่ชั่วยามได้

หลังจากภรรยาหายด้วยกลุ่มอาหารธรรมชาติแล้ว นพ.แสตรนด์ ได้ทุ่มเทชีวิตไปสนใจแนวการใช้สารอาหารประกอบหรือเสริมวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน จนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

นอกจากนี้ยังได้เขียนหนังสือออกมาอีกหลายเล่ม หนึ่งในนั้นที่แปลเป็นภาษาไทยมีเรื่องราววิธีใช้โอพีซีอย่างดี คือ เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริม…

สิ่งที่ยืนยันว่ามิใช่ฟลุ๊คหรือบังเอิญโชคช่วย…ก็คือ นพ.แสตรนด์ ใช้อาหารเสริมตำรับเดียวกันรักษาคนไข้โรคเดียวกันนี้ ซึ่งรวบรวมไว้เป็นชมรมหรือกลุ่มผู้เป็นโรคอาการเดียวกัน อีก 5 คนก็ได้ผล จนเกือบกลายเป็นหมอเทวดาไป

จึงเป็นที่มาของความสนใจใฝ่ศึกษาลงรายละเอียดเกี่ยวกับอาหารเสริมและทฤษฎีอนุมูลอิสระ ไปถึงสารต้านพิษ Oxidative stress ทั้งหลาย

สารเสริมสุดยอดนิยม ที่นพ.แสตรนด์ ใช้เป็นมาตรฐาน ก็คือ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น หรือโอพีซีนี่เอง

 

บทบาทของโอพีซี

บทบาทเดิมคือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เคลื่อนที่ได้คล่อง ล่องลอยไปได้ทั่วร่างกายในน้ำ มีอานุภาพให้ e ได้สูงกว่าวิตามินซี 20 เท่า และสูงกว่าวิตามินอี กว่า 50 เท่า

ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากมีขนาดโมเลกุลไม่ใหญ่โตมาก คือโอพีซีนับเอาสารที่มีกลุ่ม proanthocyanidins เพียงแค่ “Oligomeric” คือ เป็นกลุ่มที่มีเพียง 2 – 3 โมเลกุล หรือไม่เกิน 7 โมเลกุล

ดังนั้นสรรพคุณของเมล็ดองุ่นสกัดจึงขึ้นกับสารประกอบที่ใส่ลงไป ซึ่งหากมีการปลอมปนกลุ่ม Tannin โดยแอบอ้างว่าเป็น proanthocyanidins เหมือนกัน แต่กลุ่มโมเลกุลใหญ่กว่าจะเป็นโมเลกุลอุ้ยอ้าย เจาะผ่านเนื้อเยื่อได้ไม่ดี

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ยังมี โอพีซีเข้มข้นถึง 92% ในขณะที่สกัดจากเปลือกสนจะมี โอพีซีเพียง 84%

อีกทั้ง โอพีซีจากเมล็ดองุ่น ยังมี gallic esters of proanthocyanidins ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เปลือกสนไม่มีสารนี้

แม้แต่ในหมู่องุ่นด้วยกัน ก็พบว่าเมล็ดองุ่นขาว มีโอพีซีน้อยกว่าเมล็ดองุ่นแดง

แหล่งวัตถุดิบโอพีซี จึงมีความสำคัญด้วยประการฉะนี้

ดังนั้นสรรพคุณล่ำลือเก่าแก่เกี่ยวกับฟลาโวนอยด์ หรือไบโอฟลาโวนอยด์ จึงถูกแทนที่ด้วยโอพีซี

หรือโอพีซี คือ สุดยอดฟลาโวนอยด์

จากคุณสมบัติที่เป็นกลุ่มโมเลกุลเล็ก ละลายน้ำ ทำให้เดินทางแทรกซึมไปได้ทั่วร่างกาย และยังผ่านเข้าสมอง (blood brain barrier) ได้

 

โครงสร้างโมเลกุล

นอกจากเปลือกสนฝรั่งเศสแล้ว ยังพบได้ในเหล้าองุ่น แครนเบอรี่ ใบบิลเบอรี่ เบิรช (birch) แปะก๊วย และ hawthorne ซึ่งรู้จักในชื่อ procyanidins…สารนี้เป็นตัวทำให้พืชมีสี น้ำเงิน ม่วง ถึงแดง

โอพีซีเป็นสารหนึ่งใน polyphenolic complex flavonoids ซึ่งแบ่งออกได้หลายกลุ่ม โดย proanthocyanidins จัดอยู่ในกลุ่มที่มี แทนนินเข้มข้น (แทนนิน เป็น highly hydroxylated structure อันสามารถเกิดร่วมกับคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน)

วิธีวัดความฝาด(astringency) ขึ้นกับฤทธิ์ตกตะกอนในน้ำลาย

พวก polyphenolic รวมถึง proanthoyanidins เป็นตัวทำให้เกิดแทนนินที่พบในไวน์ โดยเฉพาะไวน์แดง

proanthocyanidins เป็นกลุ่ม polymers ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง การเกิด oxidation มีขึ้นระหว่างคาร์บอนอะตอม C4 ของ heterocycle กับ C6 หรือ C8 ของอีกวงแหวนหนึ่ง โดยการต่อกันที่ C4 – C8 เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด

จากงานสัมมนา “Free Radicals in Biotechnology and Medicine” ณ.กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ.1990 มีรายงานว่าการ esterification of (–) epicatechin และ procyanidin B2 ด้วย กรด gallic เพิ่มประสิทธิภาพการทำลายอนุมูลอิสระ โดยข้อมูลบ่งว่า dimeric proanthocyanidins ที่มี C4 – C8 linkage จะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้มากกว่า C6 – C8 linkage

C4 – C8 linkage เป็น gallic esters ที่พบในสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

Oligo แปลว่า 1 ถึง 2 ไม่เกิน 3 dimers

Proanthocyanidins คือ กลุ่มโมเลกุลก่อนแตกตัวเป็นcyanidine ให้สารสีแดง

กล่าวแล้วว่าOligo หมายถึง เล็กๆ หรือ few คือ 2 หรือ 3

การที่ proanthocyanidins จับกันเป็นกลุ่มเล็กๆ จึงเรียก Oligomeric Proanthocyanidin เรียกย่อว่าโอพีซี

จากรูปแบบโมเลกุลที่มี 3 วงแหวนพร้อมแขนคู่ ซึ่งพร้อมให้ e ได้ดี บวกกับการที่มีกลุ่มขนาดเล็กจึงกะทัดรัด ประกอบกับคุณสมบัติละลายน้ำ ทำให้เคลื่อนตัวได้เร็ว ความเล็กทำให้แทรกซึมได้ทุกแห่ง ถึงจุดเป้าหมายก่อนกลุ่มขนาดใหญ่

ถ้ามี tetramers หรือ มากกว่าจะเรียกเป็น polymeric proanthocyanidins โดยมีความฝาด (astringency) เพิ่มขึ้นตาม ดังนั้น Oligomeric Proanthocyanidin จึงฝาดน้อยกว่า จับกับโปรตีนได้ดีกว่า และละลายน้ำล่องลอยในร่างกายได้ดีกว่า

ฟลาโวนอยด์ เป็นสารเคมีธรรมชาติที่มีอยู่ในพืช ผัก ผลไม้ ไม่ใช่กลุ่มวิตามิน แร่ธาตุ หรือใยอาหาร แต่สำคัญต่อการทำงานของร่างกาย โดยส่วนมากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ละลายน้ำ

ชาและไวน์ (โดยเฉพาะไวน์แดง) จะมีฟลาโวนอยด์มากเป็นพิเศษ ฟลาโวนอยด์ที่ให้ e ดีที่สุดคือ รูปแบบของ anthocyanidins

ปัจจุบันพบฟลาโวนอยด์แล้วกว่า 20000 ชนิด

ตัวอย่างสารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญคือ เควอร์ซิติน

Flavonoid ที่ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด คือ รูติน (rutin) และ hesperidin ซึ่งพบมากในเมล็ดข้าวบัดวีท และผลไม้ตระกูลส้ม

โอพีซี พบมากในเมล็ดองุ่น

Isoflavone พบในถั่วเหลือง

Anthocyanoside สารสีแดงในไวน์แดง หรือแบล็กเบอรี่

(ส่วน carotenoid ทำให้ผักผลไม้มีสีแดง ส้ม และเหลือง ต่างกับ Flavonoid ตรงที่ละลายในน้ำมัน…สารสีเหลืองของเนยก็มาจาก b–carotene ในหญ้าที่วัวกินเข้าไป)

บางครั้งก็เรียก Bioflavonoid

โอพีซีจึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระเหนือกว่า antioxidant อื่นๆ โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินซี 20 เท่า และสูงกว่า วิตามินอี 50 เท่า จึงได้รับขนานนามว่า Superantioxidant

นอกจากนี้เมื่อทานโอพีซี ร่วมกับวิตามินซีจะช่วยเสริมฤทธิ์ให้วิตามินซี ช่วยบำบัดวิตามินซีที่ถูกใช้ให้คืนสภาพกลับมาใช้ใหม่ได้ บางคนจึงเรียกโอพีซี ว่าเป็น Vitamin C cofactor

 

คุณสมบัติทางชีวภาพ (Biological Properties)

มีการศึกษาโอพีซี ถึงฤทธิ์ทำลายล้างอนุมูลอิสระ, ต้านแบคทีเรีย, ต้านไวรัส, ต้านมะเร็ง, ต้านอักเสบ (antiinflammatory) ต้านภูมิแพ้ (anti–allergic) และฤทธิ์ขยายหลอดเลือด (vasodilatory action) รวมถึงฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการเติมออกซิเจนต่อไขมัน (Lipid peroxidation) การจับตัวของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) การซึมผ่านหลอดเลือดฝอย ความแข็งแกร่ง และเกี่ยวข้องกับระบบน้ำย่อย (enzyme system) โดยเฉพาะฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของโอพีซี เป็นที่ประทับใจในหลายรายงานที่ทดลองในสัตว์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Proanthocyanidin ที่สกัดจากเมล็ดองุ่นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการทำลายเนื้อเยื่อจากกระบวนการ oxidation ได้ดีกว่า วิตามินซี อี และเบต้าแคโรทีน

ส่วนการทดลองในหลอดแก้ว บ่งว่ามีคุณสมบัติพิเศษในการต่อต้าน hydroxyl radical(OH–) ทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งบทบาทของ xanthine oxidase ซึ่งเป็นตัวปลดปล่อยอนุมูลอิสระ, elastase, collagenase, hyaluronidase และb–glucuronidase

โอพีซียังชอบจับกับสารที่มี glycosaminoglycans (epidermis ของผิว, ผนังหลอดเลือด, ผนังลำไส้ ฯลฯ) ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้โอพีซี มีประโยชน์ในการช่วยให้หลอดเลือดฝอยแข็งแกร่ง การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

จากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระจึงมีการนำไปทดสอบประสิทธิภาพในสัตว์ทดลอง (in vitro) หรือเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ผลที่ได้ล้วนเป็นที่น่าพอใจ สามารถนำมาอธิบายกับคน (in vivo) ได้ ตั้งแต่เรื่องช่วยต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือด หยุดการย่อยสลายคอลลาเจน ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนร่วมกับวิตามินซี ทำให้ผนังหลอดเลือดและผิวหนังแข็งแรง เต่งตึง

ผลที่น่าพอใจมากคือ กรณีหลอดเลือดขอด (varicose vein) ริดสีดวงทวาร โดยเฉพาะอวัยวะที่มีหลอดเลือดฝอยละเอียดอ่อนมากที่สุด คือ ลูกตา ซึ่ง Retina ใช้เลือดหล่อเลี้ยงมาก จึงใช้ในการป้องกันจอประสาทตาเสื่อม

โรคเบาหวานก็เป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดฝอยเสื่อมสภาพจากน้ำตาลล้นเกิน อาการชาที่ขาเพราะประสาทอักเสบก็ทุเลาได้

หลอดเลือดสมองที่แข็งแรงขึ้น ทำให้เลือดไปสู่สมองดีขึ้น จึงทั้งเพิ่มอาหารและต้านอนุมูลอิสระแก่สมอง ช่วยต้านสมองเสื่อม หลอดเลือดที่แข็งแรง แตกเปราะยากขึ้น จึงป้องกันโรคลมปัจจุบัน (stroke)

 

สรุปคุณสมบัติของ โอพีซี

  1. เป็น Superantioxidant สามารถจับกับอนุมูลอิสระได้ดี ต้านอนุมูลอิสระได้ทุกรูปแบบและจำนวนมาก
  2. ถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 20 – 30 นาที จากนั้นจึงกระจายไปสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ และยังคงอยู่ภายในร่างกายได้นาน (half life 7 ชม.)
  3. สามารถรวมตัวได้ดีกับคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนัง หลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ จึงทำให้เซลล์ผิวหนังแข็งแรงไม่เหี่ยวย่น หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดี ไม่เปราะหรือแตกง่าย
  4. สามารถผ่านแนวกั้นสมอง (blood brain barrier) ได้ จึงป้องกันสมองมิให้เสียหายจากอนุมูลอิสระ คุณสมบัติเด่นนี้ทำให้โอพีซี เป็น antioxidant ที่ต่างจากชนิดอื่นๆ
  5. ทำงานร่วมกับวิตามินซีในการทำให้คอลลาเจนทั่วร่างกายแข็งแรงขึ้น และยังช่วยป้องกันการสูญเสียวิตามินซีและอี
  6. ปลอดภัยต่อร่างกาย

 

ผลการทดลองต่างๆ

ในยุโรป ใช้โอพีซีรักษาอาการผิดปกติของหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดขอด (Venous insufficiency) และปัญหาของหลอดเลือดฝอย (microvascular problem) เช่น หลอดเลือดฝอยเปราะบาง และปัญหาทางตา

ในฝรั่งเศส โอพีซีเป็นสารสำคัญที่ใช้เกี่ยวกับความผิดปกติของหลอดเลือดฝอย (microcirculatory disorders) และยังมีการทดลองต่างๆ ยืนยันถึง :-

– ฤทธิ์ต้านเฉพาะกับ OH free radical

– ชะลอการเกิด Lipid peroxidation อย่างมีนัยสำคัญ

– จับ Lipid peroxidase และ free radicals

– แย่งกับโมเลกุลของธาตุเหล็ก ช่วยยับยั้งการเกิด iron-induced lipid peroxidation

– ยับยั้ง xanthine oxidase ซึ่งเป็นแหล่งปลดปล่อยอนุมูลอิสระแหล่งใหญ่

– ยับยั้ง hyaluronidase, elastase + collagenase ซึ่งไปทำลายเนื้อเยื่อโครงสร้างเกี่ยวพัน (connective tissue)

ข้อมูลของ Proanthocyanidin นำมาอธิบายว่าทำไมชาวฝรั่งเศส ซึ่งบริโภคไขมันสูงเช่นเดียวกับคนอเมริกัน แต่เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด(แข็งตีบตัน) น้อยกว่า…ก็เนื่องจากชาวฝรั่งเศสได้ โอพีซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากการดื่มไวน์แดง ประจำวันนั่นเอง

1998 Tufts University “Dietary Antioxidant and Human Health Conference” รายงานผลการค้นพบว่า Proanthocyanidin ให้ผลเช่นเดียวกันในอเมริกา

ปัจจุบันมีการยืนยันว่า สาร polyphenols ในไวน์แดงจากองุ่นแหล่งอื่นก็ช่วยป้องกันการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรัง เช่น atherosclerosis ได้

Dr.Kendal เป็นอีกผู้หนึ่งที่รายงานว่า โอพีซีมีบทบาทป้องกันหัวใจวาย ในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery patient)

 

ยังมีงานวิจัยอื่นๆ เช่น

  1. กินโอพีซี ลดคอเลสเตอรอลในสัตว์ทดลอง โดยเฉพาะการป้องกันมิให้คอเลสเตอรอลรวม และ LDL สูงขึ้น และเพิ่ม HDL ในเลือด
  2. โอพีซีลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่เกาะผนังหลอดเลือดใหญ่ (aorta)
  3. โอพีซีช่วยต้านสารที่เป็นพิษต่อเซลล์ เพิ่มระดับ interleukin–1, interleukin–6 และ interleukin–10 ในสัตว์ทดลอง
  4. โอพีซีในหลอดทดลอง แสดงถึง บทบาทต้านการผ่าเหล่าของเซลล์สู่มะเร็ง (antimutagenic activity)
  5. มี double blind study พบว่าการให้ 300 มก. โอพีซี/วัน ในผู้ป่วยสามารถปกป้องหลอดเลือดดำฝอยขาดเลือด(peripheral venous insufficiency) ได้ผล 75% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอกซึ่งได้ผลเพียง 41%
  6. โอพีซีขนาด 150 มก./วัน เพิ่ม venous tone (แข็งแกร่ง) ในผู้ป่วยหลอดเลือดขอด
  7. โอพีซีขนาด 100 – 150 มก./วัน เทียบกับยาหลอกพบว่า 53% มี capillary resistance (ความต้านทานของหลอดเลือดแดงฝอย) ดีขึ้นใน 2 – 3 สัปดาห์
  8. ให้โอพีซีขนาด 100 มก./วัน แก่ผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อม (retinopathy) สามารถรักษา exudate ซึ่งเป็นผลจาก hypoxia (อาการขาดออกซิเจน) ในผู้ป่วยเบาหวาน ลดการอักเสบ และหลอดเลือดตีบแข็ง
  9. มีการทดลองให้โอพีซี ขนาด 300 มก./วัน แก่ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม สามารถลดความเจ็บปวดได้ 59% เทียบกับยาหลอก ซึ่งได้ผลเพียง 13%

 

สรุปฤทธิ์โอพีซี

– Antibacterial – ต้านแบคทีเรีย

– Antiviral – ต้านไวรัส

– Anticarcinogenic – ต้านมะเร็ง

– Anti-Inflammatory – ต้านอักเสบ

– Antiallergic – ต้านภูมิแพ้

– Vasodilatory action – ช่วยการขยายตัวของหลอดเลือด

– ยับยั้ง Lipid peroxidation –หยุดการหืนของไขมัน

– ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด (platelet aggregation)

– ลดการซึมผ่านหลอดเลือดฝอย

– ลดความเปราะบางของหลอดเลือดฝอย

– ระบบน้ำย่อย phospholipase A2

– Cyclo–oxygenase

– Lipoxygenase

 

การใช้ประโยชน์จากโอพีซี

1. ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ในสัตว์ทดลอง ป้องกันโรคหลอดเลือดอักเสบอุดตันได้ (atherosclerosis) จากการไปต้าน Oxidative stress ต่อLDL โอพีซีช่วยต้านอนุมูลอิสระที่มากระทำต่อLDL เป็นการช่วยยับยั้งการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด จึงป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดี ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและสมอง

2. ช่วยให้หลอดเลือดฝอยแข็งแรง ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย เนื่องจาก โอพีซีสามารถรวมตัวกับคอลลาเจนของผนังหลอดเลือดได้ดี จึงป้องกันอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายเซลล์ผนังหลอดเลือด ช่วยบรรเทาอาการหลอดเลือดขอดหรือโป่งพองได้ ทั้งที่หัวใจและสมอง

3. ต้านหลอดเลือดเปราะ เลือดออกง่าย หลอดเลือดขอด ไม่ว่าที่น่อง ที่ขา ริดสีดวงทวาร พบว่า โอพีซีมีประสิทธิภาพสูงกว่าฟลาโวนอยด์ที่จดทะเบียนเป็นยา และดีต่อโรคหลอดเลือดดำอักเสบ เหนือกว่าสมุนไพรที่ชื่อ Horse chestnut

4. ลดเลือดจับตัวเป็นก้อน (venous thrombosis) จากการนั่งอยู่กับที่นานๆ พบว่าโอพีซีขนาด 100 มก. มีคุณสมบัติทำให้เลือดบางลง หรือลดการจับตัวของเกล็ดเลือด เทียบเท่า Aspirin 500 มก. \ จึงไม่ควรรับโอพีซีร่วมกับยาลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดอื่นๆ เช่นวาฟาร์ริน เฮพพาริน แอสไพริน โอพีซีเหนือกว่าแอสไพริน ตรงที่ไม่กัดกระเพาะ จึงกินขณะท้องว่างได้

5. ลดอักเสบ (Anti–Inflammation) โอพีซีไปยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์กลุ่มที่ย่อยโปรตีน (Protease) ย่อย collagen (collagenase) ทำให้ PGE2 ไม่ถูกสังเคราะห์ขึ้น (PGE2 คือ สารก่ออักเสบที่ n6 สร้างขึ้น) เมื่อไม่เกิด PGE2 จึงทุเลาอาการปวดอักเสบต่างๆ เช่น ปวดกล้ามเนื้อและเส้นใย (fibromyalgia) ปวดข้อ (arthritis) และโรคผิวหนังพุพอง (eczema) เป็นต้น ต้านการอักเสบ โอพีซีจะยับยั้งการสังเคราะห์ และการปล่อยสารที่จะทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของข้อต่างๆ ทำงานได้ดี ลดอาการข้อกระดูกอักเสบ โรคเนื้อเยื่อแข็ง

อาการแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น ปลายประสาทอักเสบ ขาชา ตาเสื่อม ตาบอด ต้อกระจก

6. ลดอาการภูมิแพ้ โอพีซีมีคุณสมบัติในการต้านสารฮีสตามีน จึงช่วยลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด หลอดเลือดฝอยแข็งแรง ไม่แตกเปราะ เนื้อเยื่อแข็งแรง ปกป้อง mast cell มิให้ถูกโจมตี เมื่อไม่ถูก รบกวนก็ไม่หลั่ง histamine มาก ไม่เกิดอาการภูมิแพ้ โอพีซีดีกว่ากินยาแก้แพ้ (Antihistamine) เพราะไม่ง่วง ไม่เกิดซึมเศร้า หรือนมโตในผู้ชาย อันเป็นผลข้างเคียงของ Antihistamine

7. ป้องกันสมองเสื่อม โอพีซีสามารถผ่านแนวกั้นสมองได้ จึงป้องกันสมองจากการทำลายของอนุมูลอิสระ

8. ป้องกันการเสื่อมของดวงตา ต้อกระจก ตาเสื่อมจากเบาหวาน ช่วยให้สายตาปรับการมองเห็นในที่มืดได้ดี ปกป้องอาการตาเสื่อมจากเบาหวาน

9. ป้องกันมะเร็ง โอพีซีป้องกันมิให้อนุมูลอิสระไปทำความเสียหายต่อดีเอ็นเอของเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โอพีซีกีดขวางการเกิดมะเร็ง จากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสนับสนุนการทำงานของวิตามินซี และอี หากใช้ร่วมกับน้ำมันปลา n3 สารพฤกษเคมีอื่นๆ ร่วมกัน น่าจะเกิดผลดียิ่งขึ้นได้ แต่ก็ยังไม่มีรายงานทางวิชาการในคน จึงเป็นเพียงความคาดหวังทางทฤษฎีเท่านั้น

10. ป้องกันผิวหนังเหี่ยวแก่ และช่วยให้เส้นผมแข็งแรงจากการต้านอนุมูลอิสระของโอพีซี

มีนักวิจัยชื่อ Takahashi พบว่า โอพีซีกระตุ้นเส้นผมในหนูทดลองให้งอก จากคุณสมบัติช่วยหยุดการทำงานของฮอร์โมนลักษณะเพศชาย (Dihydrotestosterone–DHT) ซึ่งถ้า DHT มากไปจะไปยับยั้งการเกิดตุ่มเส้นผม จึงทำให้ขนหรือผมร่วง

ในด้านการป้องกันริ้วรอย ฝ้า กระ โอพีซี ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายคอลลาเจน และอิลาสตินในผิวหนัง อันเป็นสาเหตุทำให้ผิวเสื่อมสภาพ เกิดริ้วรอยก่อนวัย คงสภาพของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue)

อาจใช้ร่วมกับสาร MSM (Methyl Sulphur Methane) ในการบำรุงรากผม ช่วยให้ผมงอกงามดีขึ้น MSM เป็นกำมะถันอินทรีย์ (Organic sulphur) ซึ่งไม่มีกลิ่นเหม็นเหมือนกำมะถันทั่วไป และไม่เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น ผิวแห้งเป็นขุย

กำมะถันยังพบมากในทุเรียน กลิ่นทุเรียนก็โยงใยกับกลิ่นกำมะถันได้

11. ลดบวม (edema) อาการบวมหลังผ่าตัด เนื่องจาก protein collagen elastin เสื่อมสภาพ ทำให้น้ำเหลืองไหลซึมออกมาได้ง่าย โอพีซี ไปช่วยให้ collagen elastin เหนียวแข็งแรง จึงลดอาการบวมได้โดยเร็ว รวมไปถึงอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ฟกช้ำดำเขียว

12. ลดคอเลสเตอรอล

13. เพิ่มภูมิคุ้มกัน

14.ช่วยการหายของบาดแผล จากผลการเพิ่มภูมิคุ้มกัน

15. ลดเลือดออกไรฟัน

16. ลดแผลในปาก

17. ลดอาการเริมที่ปาก

18. ลดไซนัสอักเสบ…(โดยมักใช้ร่วมหรือเสริมฤทธิ์ยาอื่น)

19. การแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย (Erectile Dysfunction–ED) อาการหย่อนสมรรถภาพ ซึ่งมักพบในชายอายุเกิน 45 ถึง 40% พบว่า โอพีซี ช่วยได้ แต่ต้องร่วมกับการออกกำลังกาย และภาวะจิตใจด้วย แต่ผลการศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างมีไม่มากพอ

ขนาดรับประทาน

ก. เพื่อต้านอนุมูลอิสระในชีวิตประจำวัน ใช้ขนาด 50–100 มก./วัน

ข. เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะโรค ขนาด 100–400 มก./วัน เช่น

 

ปัญหา

โอพีซี (mg.)

โคคิวเทน (mg.)

โรคหัวใจ

100

100

มะเร็ง ระยะแรก

200

200

มะเร็ง ระยะแพร่กระจาย

300

500

ตาเสื่อม

300

100

หืด

200

ถุงลมปอด

200

สมองเสื่อม

400

เบาหวาน

100

ปวดกล้ามเนื้อ

200

200

ข้ออักเสบ

100

รูมาตอยด์

400

300

สวยงาม, ชะลอชรา

100

100

ความปลอดภัย ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงหรือพิษภัย บางคนอาจพบอุจจาระเหลวเป็นบางครั้ง

 

ข้อควรระวัง

  1. งดใช้ร่วมกับยาที่ทำให้เลือดบาง เกล็ดเลือดจับตัวช้า เช่น Warfarin, Heparin, Aspirin
  2. อาจทำให้ยาปฏิชีวนะเตตร้าซัยคลิน (tetracyclin) ใช้ไม่ได้ผล
  3. งดบริโภคก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด เพราะเลือดอาจออกง่าย

EasyCookieInfo