ฝ้าเป็นสภาพผิวของใบหน้าที่มีปื้นเป็นสีคล้ำ เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเม็ดสี melanin ที่ผิวหนัง
มีโรคอะไรบ้างที่ไม่ใช่ฝ้าแต่ดูคล้ายฝ้า ที่พบบ่อยๆ คือ แผลเป็นบนใบหน้า ปานดำ รอยด่างดำแต่กำเนิด แผลที่เกิดจากยาฟอกสี หรือสารเคมีกัดหน้า จนชั้นอิพิเดอร์มิส (หนังกำพร้า) หายไป โรคทางกายบางอย่าง เช่น ลูปุสอีริสทีมาโตซุส (SLE) จะเห็นเป็นผื่นแดงขอบนูนเข้ม รูปปีกผีเสื้อ บริเวณสองข้างโหนกแก้ม รอบจมูก (คือ จมูกเป็นตัวผีเสื้อ มีรอยเข้มเป็นรูปปีกผีเสื้อ) ผิวหนังบริเวณที่เป็นมักค่อนข้างเหี่ยวย่น การใช้ยาทาบางอย่าง เมื่อถูกแสงเกิดปฏิกิริยาแพ้แสง เป็นผื่นสีเข้มขึ้นมา ถ้ารู้ว่าแพ้อะไร หลีกเลี่ยงสิ่งสัมผัสเสีย อาการจะหายไปเอง ไม่ต้องใช้ครีมแก้ฝ้า
หลักการรักษา
1.แนวคิดทั่วไป
ฝ้าเป็นปัญหาของความสวยงาม ไม่มีอันตรายใดๆ ต่อสุขภาพ การรักษาค่อนข้างยาก กินเวลานาน และอาจจางไม่หมดหรือหายแล้วอาจกลับเป็นใหม่โดยง่าย ผู้ป่วยต้องเข้าใจวิธีการและขั้นตอนการรักษาอย่างแจ่มแจ้ง พร้อมที่จะร่วมมืออย่างเต็มที่ และไม่หวังผลจนเกินความเป็นไปได้ การเพิ่มตัวยาแก้ฝ้าให้มีความแรงมากเกินไป มีโอกาสทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการรักษาได้มาก และในบางครั้งทำให้ดูน่าเกลียดกว่ารอยฝ้าเดิมเสียด้วย
2.การป้องกันไม่ให้ฝ้าเป็นมากขึ้น
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดฝ้า หยุดยาคุมกำเนิด หลีกเลี่ยงแสงแดดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควรฝึกใช้ร่มเวลาออกไปในที่แจ้งจนกลายเป็นนิสัย ใช้ยาทากันแดดเป็นประจำ และเลือกใช้ชนิดที่เป็น broad spectrum คือป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB รวมทั้งมี protection factor ที่เพียงพอ
3.ทำให้ฝ้าจางลงด้วยสารที่ทำให้ผิวขาว (skin whitening agents)
Hydroquinone เป็นตัวยาหลักที่ใช้รักษาฝ้าในปัจจุบัน ใช้ในรูปของครีมที่มีความเข้มข้น 2 – 5% สารนี้ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง melanin โดยตรง และได้ผลดีเฉพาะต่อฝ้าชนิดตื้น ตัวยาในความเข้มข้นขนาดนี้ อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองในผู้ใช้บางราย นอกจากนั้นการใช้ยาที่มีความเข้มข้นสูงในระยะยาว มีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงเพิ่มเติม เช่น การเกิด ochronosis เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้ประกาศห้ามใช้สารตัวนี้ในเครื่องสำอาง แต่ยังสามารถใช้เป็นยาได้ในความดูแลของแพทย์ ตัวยา hydroquinone จะทำให้ฝ้าจางลงช้าๆ โดยไม่ค่อยมีผลต่อสีของผิวปกติรอบฝ้า ตัวยานี้แตกต่างจาก monobenzyl ether of hydroquinone (MBEH) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลาย melanocyte หลังจากใช้แล้วจะเกิดรอยขาวอย่างถาวรที่ผิวหนัง
Tretinoin หรือ VA ในรูปของครีมที่มีความเข้มข้น 0.05% ออกฤทธิ์เร่งให้เซลล์ผิวหนังบริเวณรอยฝ้า ซึ่งมีเม็ดสี melanin อยู่หนาแน่นให้หลุดลอกออกก่อนกำหนด แต่ยากลุ่มนี้ระคายผิว อาจทำให้เกิดอักเสบและรอยคล้ำขึ้นได้ นอกจากนี้ผิวบริเวณที่ทาจะไวต่อ UV ซึ่งจะกระตุ้นการทำงานของ melanocyte
Topical steroid มีฤทธิ์ทำให้สีของฝ้าจางลงได้บ้าง โดยยับยั้งการกระจายของ melanin จาก melanocyte แต่ไม่นิยมใช้เป็นยากันฝ้าโดดๆ เพราะเกิดผลข้างเคียงได้มาก เช่น สิว ผิวหนังบาง แตกลาย ขนยาว และเมื่อหยุดยาทา ผิวจะคล้ำอย่างรวดเร็ว (rebound phenomenon) ส่วนใหญ่จะใช้ผสมกับตัวยาอื่นๆ
Azelaic acid ใช้ในรูปของครีมที่มีความเข้มข้น 20% สารนี้ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ melanin จากการทดลองพบว่า ได้ผลใกล้เคียงกับการใช้ hydroquinone 4% คือ ได้ผลประมาณร้อยละ 60 – 70 ของผู้ป่วยในระยะเวลา 6 เดือน
สารปรอท ใช้ในรูปของ ammoniated mercury cream 1–2% สารปรอทออกฤทธิ์โดยไปแย่งที่ในกระบวนการสร้าง melanin แต่สารปรอทสามารถก่ออันตรายและเกิดพิษได้ จึงไม่ใช้กันแล้วในปัจจุบัน
Combined formulation สารฟอกสีแต่ละชนิดข้างต้น เมื่อใช้เดี่ยวๆ จะได้ผลช้าและน้อย ในทางปฏิบัติจึงมักใช้ยาแก้ฝ้า ซึ่งมีส่วนผสมของตัวยา 2 – 3 ชนิดร่วมกัน เพื่อเร่งให้มีประสิทธิภาพในการรักษาที่สูงขึ้น ยาผสมเหล่านี้มักจะปรุงขึ้นกันเอง และมีสูตรที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย hydroquinone เป็นตัวยาหลัก ผสมกับ tretinoin หรือ steroid หรือทั้งคู่ในสัดส่วนความเข้มข้นที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่ว่าต้องการใช้ยาแรงแค่ไหน สูตรยาแก้ฝ้าชนิดผสมที่นิยมใช้กัน มักจะมีตัวยาครบทั้ง 3 ตัว เพราะถ้ามีเพียง hydroquinone ผสมกับ tretinoin จะมีโอกาสเกิดการระคายเคืองได้มาก การมี steroid เป็นสารประกอบเพิ่มเข้ามาด้วย นอกจากจะทำให้ฤทธิ์ยาสูงขึ้นแล้ว ยังช่วยลดการระคายเคืองจากตัวยาสองชนิดแรกด้วย ตัวอย่างยาดังกล่าว ได้แก่
Kligman’ s formula (สูตรผสม) : Hydroquinone 5.0%
Tretinoin 0.1%
Dexamethasone 0.1%
Hydrophilic ointment
รายละเอียดวิธีใช้ คือ ทาเฉพาะเวลากลางคืนหรือก่อนนอน เมื่อผิวหน้าแห้งแล้ว
- ทา VA ทั่วใบหน้า
- ทา HQ เฉพาะรอยฝ้า (ทับ VA)
- ทา triam เฉพาะรอยฝ้า (ทับ HQ + VA)
หรือหากไม่อยากทา 3 ครั้ง ก็คงต้องบีบออกมาอย่างละเท่าๆ กัน เฉพาะการใช้ 1 ครั้ง คนหรือกวนให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วใช้ cotton bud ป้ายทา (เฉพาะรอยฝ้า) หากใช้นิ้วมือ จะเป็นคราบดำที่ปลายนิ้วจากฤทธิ์ HQ
อันตราย คือ การเผลอทาเฉพาะ steroid หรือ steroid + HQ โดยไม่มี VA ซึ่งเสริมฤทธิ์ HQ และลดอาการข้างเคียงจาก steroid ผลของ steroid เดี่ยวๆ คือ ผิวบาง แตกลายงา เกิดสิว steroid ที่หายยาก ขนดกขึ้นตรงบริเวณที่ทา
ส่วน HQ นั้นข้อควรระวัง คือ ต้องใช้วัตถุดิบบริสุทธิ์ (Pharmaceutical grade) ในการผลิต เพื่อปลอดจากผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ อย่ามักง่ายใช้ grade น้ำยาล้างรูปเป็นอันขาด (มักใช้ในเครื่องสำอางปลอม) เพราะผลจาก impurity อาจร้ายแรงกว่าพิษปรอทเสียอีก ราคาของ HQ ทาฝ้า จึงแตกต่างกันได้มาก
สำหรับ VA นั้น มีข้อเสีย คือ ทำให้ผิวบาง หน้าแดง หากถูกแดดจะยิ่งแสบแดง ถ้าทาขณะเปียกน้ำอาจดูดซึมมากไป เกิดระคายเคืองมากได้
ตัวแก้ระคายเคือง แสบแดงจาก VA ก็คือ steroid
ในขณะที่ VA ไปแก้ side effect เรื่องสิว ขนดกขึ้นของ steroid ห้ามทา steroid เดี่ยว ๆ …ต้องมี VA ควบทุกครั้ง
แต่ทา VA เดี่ยวๆ ได้…ไปเรื่อยๆ
สำหรับ VA จะทาทั่วหน้าหรือเฉพาะรอยฝ้าก็ได้ รอยฝ้ามักจางใน 1 – 2 สัปดาห์...แต่ไม่ใช่หายขาด ควรทาต่อทุกคืนทั้ง 3 รายการอีกอย่างน้อย 1 เดือน แล้วจึงลดส่วนผสมหรือถอน triam ตามขั้นตอน คือ
ทาทั้ง 3 รายการ 3 คืน เว้น 1 คืน ใช้เพียง VA + HQ เป็นเวลา 4 รอบ
ทาทั้ง 3 รายการ 2 คืน เว้น 1 คืน ใช้เพียง VA + HQ เป็นเวลา 4 รอบ
ทาทั้ง 3 รายการ 1 คืน เว้น 1 คืน ใช้เพียง VA + HQ เป็นเวลา 4 รอบ
ทาทั้ง 3 รายการ 1 คืน เว้น 2 คืน ใช้เพียง VA + HQ เป็นเวลา 4 รอบ
ทาทั้ง 3 รายการ 1 คืน เว้น 3 คืน ใช้เพียง VA + HQ เป็นเวลา 4 รอบ
แล้วงดใช้ triam ตลอดไป (คงทาเฉพาะ VA + HQ ทุกคืน) เป็นเวลา 1 เดือน
จากนั้นลองงดหรือผ่อนการทา HQ เหมือนขั้นตอนแรก (คือทา VA + HQ 3 คืน เว้น HQ 1 คืน x 4 รอบ…) แต่หากหยุดแล้วรอยฝ้ากลับเข้มขึ้น ก็คงต้องใช้สูตรเดิมต่อไปอีกระยะหนึ่ง (รวมแล้วใช้ HQ + Triam ต่อเนื่องกันไม่เกิน 6 เดือน)
|
|
|
x |
|
|
|
x |
|
|
|
x |
|
|
|
x |
|
|
x |
|
|
x |
|
|
x |
|
|
x |
|
x |
|
x |
|
x |
|
x |
|
x |
x |
|
x |
x |
|
x |
x |
|
x |
x |
|
x |
x |
x |
|
x |
x |
x |
|
x |
x |
x |
|
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
x |
|
|
ผังแสดงคอลัมน์ละ 1 วัน |
x = วันที่หยุดทา triam เอา ครีมฝ้า (MW) ทาแทน, เมื่อหยุด HQ ก็เอา MW ลงแทน (“สูตร 3in1” ต้องจ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น)
กรณีที่ไม่ต้องการใช้ HQ หรือยาสูตรผสม
กล่าวคือ ต้องการใช้แค่เครื่องสำอาง Whitening ที่ปลอดภัย (ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากๆ) แต่ฝ้าจางช้ากว่าสูตรผสม
สัปดาห์แรก ครีมฝ้า และปรับผิว ครีมฝ้า (ปรับผิว) + กันแดด + Dg + เจลใส + รวมทีมสารต้านอนุมูลอิสระ
สัปดาห์ที่ 2 ทำซอฟพีลทรีทเมนท์
สัปดาห์ที่ 3 ทำซอฟพีลทรีทเมนท์
สัปดาห์ที่ 4 ทำซอฟพีลทรีทเมนท์ สำรวจผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หากมีการเปลี่ยนแปลงฝ้าจางลง ให้พยายามใช้ขั้นตอนข้างต้นหมุนเวียน ทำซอฟพีลทรีทเมนท์ จนกว่าสภาพผิวหน้าจะดีขึ้น
Whitening agents ชนิดใหม่ๆ มีการพบสารเคมีหลายชนิด ทั้งที่เป็นสารสังเคราะห์และสารจากธรรมชาติ มีฤทธิ์ทำให้ผิวขาวขึ้นได้ เช่น kojic acid, arbutin, licorice, vitaminC, mulberry extract เป็นต้น เชื่อว่าสารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการรักษาฝ้าในระดับอ่อนถึงปานกลาง และให้ผลการรักษาต่ำกว่า hydroquinone ข้อดีของสารเหล่านี้คือ มีความปลอดภัยสูง และไม่น่าทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาว ผลตอบรับยังขึ้นกับเชื้อชาติ ภูมิประเทศ หรือเฉพาะรายบุคคล (ลางเนื้อชอบลางยา) จึงมีหลายผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวออกมาหลากหลาย
1. ฝ้าซึ่งเกิดในระหว่างตั้งครรภ์ จางหายเร็วกว่าฝ้าซึ่งเกิดจากยาคุมกำเนิด ส่วนฝ้าซึ่งเกิดจากการแพ้สารจะหายใน 2 – 3 ปีหายเร็วหรือช้า
2. ฝ้าชนิดตื้น (epidermal type) มีโอกาสหายเร็วกว่าฝ้า ซึ่งอยู่ลึก (dermal type)
3. การหลีกเลี่ยงแสง UV หรือแสงช่วงที่กระตุ้นการสร้างเม็ดสีจะช่วยให้หายเร็วขึ้น
ทาหลอดแรกฝ้าก็หายดูหน้าขาวดี แต่ทาไปแล้วหน้าดำ
เป็นเพราะทาไม่สม่ำเสมอ เช่น บางไปหรือลืมทาบ้าง เพราะเข้าใจว่าฝ้าที่จางนั้นหายไปแล้ว หรือถูกแดดมากโดยไม่ได้ทาครีมกันแสง การเอายาทาฝ้ามาทาตอนเช้าหรือลืมล้างหน้าตอนเช้าก็อาจทำให้ดำขึ้นได้
สารอาหารกับการแก้ปัญหาฝ้า
การดูแลผิวพรรณจะต้องมีการดูแลทั้งภายนอกและภายในร่างกายไปพร้อมๆ กัน การรักษาฝ้านอกจากจะใช้ครีมทาฝ้า เพื่อลดรอยดำของฝ้า ควบคู่กับการใช้ครีมกันแดดเพื่อป้องกันฝ้าที่เกิดขึ้นมาใหม่แล้ว ควรจะต้องรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อไปช่วยต้านอนุมูลอิสระที่มีในร่างกาย ลดการสร้างเม็ดสีที่มากเกินไปทำให้ผิวหน้าขาวใส ฝ้า กระ จางลง เช่น
Superantioxidant มีประสิทธิภาพเป็น 20 และ 50 เท่าของวิตามินซี และอี สามารถจับอนุมูลอิสระได้ดีโอพีซี เป็นสารสกัดจากเมล็ดองุ่น คุณสมบัติคือ
- ปกป้องเซลล์ผิวหนังจากรังสี UV โดย ลดการออกซิเดชั่น ของเม็ดสีจาก UV
- ยับยั้งการสร้างเม็ดสีใหม่
- ป้องกันคอลลาเจนมิให้ถูกทำลายซึ่งเป็นสาเหตุของริ้วรอยเร่งกำจัดเม็ดสี
- เสริมด้วย วิตามินซี, กลูต้าไทโอน, และกรดอัลฟาไลโปอิค… (มีรายละเอียดแต่ละหัวข้อเรื่อง) การใช้รวมทีมสารต้านอนุมูลอิสระ และเซลล์ผิวเนื้อแก้ปัญหาฝ้า
ควรใช้ในการแก้ปัญหาฝ้า, กระด้วย เพราะมีข้อมูลสนับสนุนว่า การใช้ร่วมกัน จะเสริมประสิทธิภาพกัน ทำให้เห็นผลเร็วขึ้น นอกจากทำให้ฝ้า, กระจางลงแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูสภาพผิวหน้าโดยรวมให้ดีขึ้น เพราะผู้ที่เป็นฝ้าส่วนใหญ่มักจะผ่านการทายาฝ้ามามากแล้ว ทำให้ผิวหน้าเสื่อมโทรมลง จากผลข้างเคียงของยาทา เช่น หน้าแห้ง หยาบกร้าน ผิวบาง มีเส้นเลือดฝอย หมองคล้ำ ไม่สดใส การใช้ร่วมกันจะช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมผิวหน้าให้ดีขึ้น สังเกตได้ว่า แม้ฝ้าจะยังจางไม่หมด แต่ผิวหน้าจะดูสดใสมีน้ำมีนวล ความยืดหยุ่นดีขึ้น เป็นที่พอใจของลูกค้าส่วนใหญ่ ผู้ที่ใช้สูตรผสมอยู่ ก็สมควรจะให้สารอาหารร่วมด้วย หากกำลังทรัพย์ไม่เดือดร้อน
ฝ้าที่สัมพันธ์กับฮอร์โมน เช่น ประจำเดือนไม่ปกติ วัยทอง ลองดื่มนมถั่วเหลืองเป็นประจำ ฮอร์โมนพืชอาจช่วยแย่งจับตัวรับ (receptor) ลดแรงกระตุ้นจากฮอร์โมนได้ อีกทั้งผลพลอยได้อื่นๆ อีกมากเมื่อคำนึงถึงคุณสมบัติของสารอาหารทั้งหลายแล้ว จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่รวมทีมสารต้านอนุมูลอิสระ คือ โอพีซี กลูต้าไทโอน กรดไลโปอิค วิตามินซี และโคคิวเทน ไว้ในเม็ดเดียวกัน เป็นทางเลือกที่สะดวกและประหยัดคุ้มค่า
รายละเอียดวิธีใช้
ครีมฝ้า = ทารอยฝ้า 2 เวลา เช้าและก่อนนอน
ปรับผิว = ทาทั่วหน้าหลังล้างหน้าทุกเช้า
ครีมกันแดด = ทาทั่วหน้า หลังล้างหน้าทุกเช้า (ทาทับ WC เพื่อกันแดด)
เจลใส = ใช้ล้างหน้าแทนสบู่ เช้า – เย็น
รวมทีมสารต้านอนุมูลอิสระ = รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล เช้า – เย็น
เมื่อหายแล้วครีมปรับผิว ใช้ได้ตลอดไป เช่นเดียวกับครีมกันแดดและเสริมอาหาร เช่น รวมทีมสารต้านอนุมูลอิสระ หากรังเกียจ HQ ก็ควรเลือก VA ร่วมกับครีมฝ้า ซึ่งได้ผลดีทีเดียว
ฝ้าที่เรื้อรังไม่หายขาด นอกเหนือจากการกระตุ้นของรังสี UV ความปรวนแปรของฮอร์โมนเพศแล้ว ยังอาจจะเกิดจากตับเสียสมดุล ม้ามขจัดของเสียได้ไม่ดีพอ จึงควรใช้ชีวโมเลกุลร่วมกับสารเสริมอาหาร ผสานกับครีมกันแดดอีกทางหนึ่ง
* สรุปแนวทางการแก้ปัญหาฝ้าเรื้อรัง ไม่หายขาด
1. เลี่ยงแสงแดดในทุกสถานที่ เช่น รถยนต์ติดฟิล์มตัดแสง UV
2. ทาครีมกันแดดทุก 2 ชั่วโมง หากเหงื่อออกง่าย
3. ครีมปรับสภาพผิว / ลดฝ้า ทาทุกเช้า + ก่อนนอน
4. โอพีซี และน้ำมันปลา อย่างละ 1x3x30 วัน หรือตลอดไป
5. ดื่มนมถั่วเหลือง ที่บดพร้อมผิวหุ้มเมล็ดทุกวัน
การรักษาฝ้าที่ดีที่สุด คือ ทากันแดดสม่ำเสมอ
การใช้ฟิล์มกันแดดติดกระจกรถยนต์หรือสถานที่ทำงานที่สามารถปกป้องทั้ง UVA และ UVB ได้สูงสุด ร่วมกับทาครีมกันแดด ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง