ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

อาหารต้านโรค

คาร์นิทีน

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

คืออะไร คาร์นิทีน (Carnitine) มีสูตรโครงสร้างเป็น 3–hydroxy–5–trimethylammonium butyrate เป็นสารอาหารประเภทกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่ตับผลิตขึ้นได้จากไลซีน และเมทไธโอนิน (Lysine + methionine) โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา คือ ไนอาซิน วิตามินบี6 ซี และธาตุเหล็กเล็กน้อย มีกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อ คาร์นิทีนละลายได้ในน้ำคล้ายวิตามินบี

พบคาร์นิทีนมากในเนื้อแดง และเครื่องในสันนิษฐานว่า มีหน้าที่ช่วยการใช้ไขมันในเนื้อสัตว์

เราได้รับคาร์นิทีน จากอาหารประจำวันเฉลี่ยวันละ 100 – 300 มก. แต่ไม่เพียงพอต่อการเผาผลาญไขมันของร่างกาย ซึ่งคาดว่าต้องใช้ถึง 4 กรัม/วัน

แม้จะสังเคราะห์เองได้ภายในร่างกาย แต่การเสริมคาร์นิทีน ก็ให้ผลดีในการลดไขมันในเลือด

มังสวิรัติ ควรทานคาร์นิทีนเสริม

บทบาท คาร์นิทีนได้ชื่อว่าเป็น Heart tonic (น้ำอมฤตของหัวใจ) หน้าที่หลักของคาร์นิทีนคือ เผาผลาญไขมัน ทั้งคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ โดยเฉพาะไขมันในกล้ามเนื้อหัวใจ และในเซลล์ตับ

ไมโตคอนเดรีย เป็นออร์แกนเนลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตพลังงานให้กับส่วนต่างๆของเซลล์ หรืออวัยวะของร่างกาย โดยกระบวนการ oxidative phosphorylation ที่เกิดจากการทำงานของกลุ่มโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มชั้นใน (inner membrane) การสลายสารชีวโมเลกุลเพื่อใช้เป็นพลังงานนั้นต้องอาศัยเอนไซม์ของ Kreb’s cycle ที่อยู่ใน matrix และการขนส่งไขมันเข้าสู่ไมโตคอนเดรีย อาศัยการทำงานของคาร์นิทีนที่อยู่ที่ผนังชั้นนอกของเซลล์ (outer membrane)

นอกจากนี้บริเวณระหว่างเยื่อหุ้มทั้งสองชั้น หรือ intermembrane space ก็มีโปรตีนที่ทำหน้าที่อื่นๆ อีก โปรตีนเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะสร้างจากพันธุกรรมที่อยู่ในนิวเคลียส โดยอาศัยไลโปโซมใน cytosol ส่วนน้อยจะสร้างโดยพันธุกรรมที่พบในไมโตคอนเดรีย

คาร์นิทีนทำหน้าที่ลำเลียงโมเลกุล ไขมันเล็กๆ เข้าไปในส่วนของเซลล์ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน จึงเป็นตัวช่วยลดระดับไขมันในเลือด

หากขาดคาร์นิทีน ผลคือไขมันไม่ถูกนำเข้าไปเผาผลาญในไมโตคอนเดรีย ก็ตกค้างสะสมอยู่ในระบบหลอดเลือด สุดท้ายอาจทำให้หลอดเลือดแข็ง

เมื่อไขมันไม่ถูกเผาผลาญ กำลังก็ลด อ้วนก็เพิ่ม คอเลสเตอรอลก็สูง

การขาดคาร์นิทีนจะทำให้ กรดไขมันไม่สามารถเข้าไปในไมโตคอนเดรียเพื่อถูกสลายได้ ทำให้เกิดการสะสมของไตรเอซิลกลีเซอรอล ในเซลล์

ไตรเอซิลกลีเซอรอล คือไขมันที่แปลงสภาพให้สลายตัวได้ง่าย มีจุดหลอมเหลวใกล้กับอุณหภูมิของผิวหนัง สะสมอยู่ที่เนื้อเยื่อไขมัน ตามชั้นใต้ผิวหนังและช่องท้อง

ฮอร์โมนบางชนิด มีผลต่อกระบวนการเผาผลาญของไตรเอซิลกลีเซอรอล เช่น กลูคากอน, เอพิเนฟริน, นอร์เอพิเนฟริน, adrenocorticotropic hormone–ACTH, growth hormone–GH และ vasopressin จัดเป็นฮอร์โมนที่ย่อยไขมัน เช่น เมื่อระดับกลูโคสในเลือดต่ำ ฮอร์โมนเอพิเนฟริน และกลูคากอน จะกระตุ้นให้เกิดการย่อยไขมันออกมา

ส่วนอินซูลิน ยับยั้งการสลายกรดไขมัน จากเนื้อเยื่อไขมัน พร้อมกับกระตุ้นการสร้างไตรเอซิลกลีเซอรอลขึ้นมาแทน

ประโยชน์ ใช้รักษาผู้มีอาการอ่อนเพลีย ซึมเศร้า ปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดขา อย่างได้ผล

แอล–คาร์นิทีน ทำให้การใช้ออกซิเจนของนักกีฬา มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น โดยไม่เหนื่อยล้า หรือเพิ่มความอดทนในการออกกำลัง เมื่อใช้คาร์นิทีนเป็นประจำ

การเริ่มใช้ให้เห็นผลอาจต้องใช้ปริมาณสูง แล้วลดลงหลังจากเห็นผลแล้ว

ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย แต่เสียเงินเยอะ

นพ.คูนิน (ผู้แนะนำ) กินวันละ 500 มก.

ปริมาณที่ได้ผลสูงสุด น่าจะอยู่ที่วันละ 1 – 4 กรัม โดยให้ผลดีที่สุดเมื่อกินก่อนลงแข่งขันสัก 2 – 3 สัปดาห์

ถ้าภาวะขาดคาร์นิทีน ให้ 2 – 5 กรัมใน 12 ชม. แล้ว 1– 2 กรัม/วัน

ลดน้ำหนัก มีการวิจัยพบว่าคนอ้วนๆ ไม่มีคาร์นิทีนในเนื้อเยื่อเลย การทานคาร์นิทีนเพิ่ม จึงเป็นการง่ายต่อผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกาย

หมายความว่า เมื่อทานอาหารแคลลอรี่ต่ำ มีสารอาหารสูง พร้อมออกกำลังกาย คาร์นิทีนจะช่วยลดน้ำหนัก ด้วยการเผาผลาญไขมันมากขึ้น

นักวิจัยให้วัยรุ่นที่อ้วน ทานคาร์นิทีนวันละ 2 กรัมx3 เดือน ทำให้น้ำหนักลดลง 11 ปอนด์(รวมทั้งไขมันในตัวด้วย) ส่วนที่ให้ยาหลอกลดลงไม่ถึง 2 ปอนด์โดยเฉลี่ย

หมันในชาย งานวิจัยพบว่า คาร์นิทีน 2 – 4 g/d สามารถช่วยให้เชื้ออสุจิเคลื่อนไหวว่องไวขึ้น และมีจำนวนมากขึ้น อารมณ์และพลังของผู้สูงอายุดีขึ้น ระยะเวลาที่เกิดผลคือ 3 เดือน

ความจำเสื่อม พบว่าคนไข้อัลไซเมอร์ 7 คน ได้คาร์นิทีน 3 g/dx1 ปี เทียบกับ 5 คน ได้รับยาหลอกพร้อมกับกลุ่มควบคุมอีก 21 คน พบว่ากลุ่มที่ได้คาร์นิทีน มีอาการเลวลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมมาก

การวิจัยที่อิตาลีใช้ 481 คน ให้คาร์นิทีนวันละ 1.5gx3 เดือน พบอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด

คาร์นิทีนยังขจัดอาการสลดหดหู่ ซึมเศร้า อัลไซเมอร์ ในผู้สูงอายุอีกด้วย

มีรายงานการใช้ L–acetyl carnitine ในวารสารการแพทย์มากมาย

มีรายงานวิจัยที่มหาวิทยาลัย โอเรกอนสเตท แนะนำว่าการทาน อะเซททิล แอลคาร์นิทีน ร่วมกับกรดแอลฟาไลโปอิค (ALA) อาจช่วยต่อต้านความชราได้

ปริมาณที่ใช้ทั่วไปคือ วันละ 2 – 4 กรัม หรือมากกว่ากับ ALA 100 – 300 มก./วัน

โดยเฉพาะอาการอ่อนเพลียในผู้ชรา แนะนำให้เพิ่ม acetyl–L–carnitine 500 มก. ร่วมกับ ALA (กรดไลโปอิค) 250 มก. และโคคิวเทน 100 มก./วัน

เด็กที่สมาธิสั้น L–acetyl–carnitine ก็ช่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่L–acetyl–carnitine ก็มีราคาสูงกว่า carnitine มาก

ผู้ป่วยมะเร็ง + โรคไต จะสูญเสียคาร์นิทีนมาก เพราะยาขับออก จึงสมควรได้รับเสริม

 

สัญญาณที่บ่งว่าขาดคาร์นิทีน :-

  • เหนื่อยอ่อน ไม่มีแรง
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ สูง
  • หัวใจทำงานอ่อน
  • จิตใจอ่อนล้า
  •  

ขนาดวิธีใช้

ขนาดรับประทานวันละ 1,000 มก. เป็นอย่างน้อย หากต้องการลดน้ำหนัก ทำให้หัวใจแข็งแรง ลดคอเลสเตอรอล ควรรับอย่างต่ำ 2,000 มก./วัน ควรกินทุกวัน เพื่อรักษากล้ามเนื้อ

ข้อพึงระวัง ควรกินชนิด L–carnitine เท่านั้น ไม่ควรใช้ชนิด D–carnitine เพราะมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หากกินมากเกิน 2 กรัม อาจทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ และท้องเสีย หากใช้ติดต่อกันนาน ควรตรวจระดับยาในเลือด และปัสสาวะด้วย แม้จะยังไม่พบผลกระทบจากการใช้ระยะยาว ผู้ป่วยโรคไตก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง

อย่ากินคาร์นิทีนในช่วงหลังของวัน เพราะอาจทำให้นอนไม่หลับ

กรณีปวดเค้นอก หรือหัวใจเต้นผิดปกติ ถ้าใช้ L–carnitine 500 มก.x3 เกิน 1 เดือน ให้เสริมด้วยกรดอะมิโนแบบรวมด้วย เช่น โปรตีนจากถั่วเหลือง และงา

EasyCookieInfo