ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

ออฟฟิศซินโดรม ภัยเงียบของคนวัยทำงาน

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

     ออฟฟิศซินโดรมคือ กลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลานานๆ เช่น งานเอกสาร, งานคอมพิวเตอร์, เลขา, คนในโรงงานอุสาหกรรม กระทั่งแม่บ้าน เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดภายหลังการทำงาน การทำย้ำๆ ซ้ำๆ ในอิริยาบถหนึ่งๆ และทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน มากกว่า 8 ชม.ต่อวัน

โรคออฟฟิศซินโดรม จะเกิดจากปัจจัย 4 ปัจจัย ได้แก่

1. การทำย้ำๆ ซ้ำๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการสึกหรอ

2. การผิดท่า จะทำให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกาย

3. ใช้แรงมาก จะเพิ่มความรุนแรงในโรคดังกล่าว และ

4. หากทำต่อเนื่อง จะทำให้ร่างกายซ่อมแซมไม่ทั

ปัจจัยดังกล่าว ทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย คือ
1. กล้ามเนื้อ เมื่อบาดเจ็บจะเกิดอาการปวด เช่น ปวดหลัง, คอ, บ่า,ไหล่ ยืนนานๆ ตะคริวจะขึ้นบ่อยๆ
2. เส้นเอ็น กำของหรือจับของเล็กๆ ซ้ำๆ เกิดอาการนิ้วล็อก เหยียดไม่สุด, ใช้ข้อมือทำซ้ำๆ อาจมีเอ็นข้อมืออักเสบได้ (De Quervian disease) ไขน็อตหรือหมุนข้อมือซ้ำๆ อาจเจ็บที่ด้านนอกข้อศอก เป็นเอ็นเกาะกระดูกข้อศอกอักเสบ (tennis elbow) เส้นเอ็นจะใช้เวลานานกว่าจะซ่อมแซมตัวเองได้
3. เส้นประสาท ใช้มือพิมพ์คอมพิวเตอร์นานๆ จะเป็นพังผืดรัดเส้นประสาทข้อมือทำให้ปวดชาบริเวณมือ, ยกของหนักๆ ปวดหลังร้าวลงขาได้
4. เส้นเลือด มักจะมาด้วยอาการเส้นเลือดโป่ง, ตีบ, ชา, ปวด เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไม่ทัน เช่น ยืนนานเป็นเส้นเลือดขอด
5. กระดูก หากเกิดการกระแทกในระยะเวลานาน อาจเกิดกระดูกร้าว หรือผิวข้อสึกได้ พบในคนงานเจาะถนน, นักเต้น, นักวิ่ง, นักกีฬา

การรักษาโรคดังกล่าว จะแบ่งเป็น 3 วิธี คือ การใช้ยา, กายภาพบำบัด และการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เมื่อหายจากอาการเจ็บแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ออกกำลังกายและยืดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่น ป้องกันการบาดเจ็บในอนาคต สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับร่างกายมนุษย์ (ergonomic environment)

(ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.ภัทร จุลศิริ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อทั่วไป)

EasyCookieInfo